ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

น้ำ-สารส้ม

ประโยชน์ของสารส ้ม

สารส้มใช้ทำให้น้ำตกตะกอนสำคัญ อย่าลืมซื้อพกติดตัวกันไว้สัก 2-3 ก้อนถึงน้ำที่แกว่งส ารส้มแล้วจะยังใ ช้ดื่มไม่ได้ แต่ก็นำมาใช้อาบ น้ำ ซักเสื้อผ้า ล้างจานชามได้และน้ำที่แกว่งสาร ส้มแล้วสามารถนำ มาต้มฆ่าเชื้อโร ค แล้วนำมาใช้ดื่ม หรือทำอาหารรับป ระทานได้ ถ้าไม่แน่ใจว่า
จะสะอาดพอหรือยัง ก็ควรนำน้ำที่แกว่งสารส้มแล้วมาผ่านเครื่องกรองน้ำอีกชั้นหนึ่ง

สารส้ม Ammonium alum และ Potassium alum คือ
เกลือเชิงซ้อนขอ งสารประกอบที่มี ธาตุ อะลูมิเนียม และ ซัลเฟต เป็นส่วนประกอบห ลัก
หรือ รู้จักกันในนามว่าสารส้ม (alum) หรือ ผลึกเกลือ
มีสูตรทางเคมีทั่วไปคือ [M( l)M,( l l l ) (SO4)2 . 12H2O]
ดังนั้นสารใดที่มีโครงสร้างของส ูตรทางเคมี ที่กล่าวมา
มันก็คือสารส้มที่เรารู้จักและคุ้นเคยนั้นเอง
ประเภทของสารส้ม สาร ส้ม (alum)
มีรากศัพท์มาจาก คำในภาษาลาตินว่า
alumen แปลว่า สารทำให้หดตัว (astringent)
แต่ในปัจจุบัน สารส้มหมายถึงเกลือเชิงซ้อน( ผลึกเกลือ )
ของสารประกอบที่ มี ธาตุอะลูมิเนียม และ ซัลเฟต เป็นส่วนประกอบหลัก

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. เกลือซัลเฟตของอ ะลูมิเนียมหรืออ ะลูมิเนียมซัลเฟต [AL2(SO4)3. XH2O]
ลักษณะ เป็น ก้อนผงสีขาว

2. เกลือเชิงซ้อนขอ งโพแทสเซียมหรือ โพแทสเซียมอะลั่ ม [AL2(SO4)3 . K2SO4 . 24H2O]
ลักษณะเป็นผลึกใ สไม่มีสี

3.เกลือเชิงซ้อนขอ งแอมโมเนียมหรือ แอมโมเนียมอะลั่ ม [AL2(SO4)3 . (NH4)2SO4 . 24H2O]
ลักษณะเป็นผลึกใ สไม่มีสี อย่างไรก็ตามสาร ส้ม (alum)

ทั้ง 3 ประเภทดังกล่าว นำไปใช้ประโยชน์ อย่างเดียวกัน การเติม ammonium และ potassiumลงไปก็เพื่อความ ประสงค์อื่น คือต้องการให้เป็นก้อนผลึกใสและ บริสุทธิ์ ยิ่งขึ้นเนื่องจากอุสาหกรรมหลาย ชนิด เช่นการผลิตกระดาษคุณภาพสูง และผสมทำผงฟู เป็นต้น ต้องการสารส้ม ที่มีความบริสุทธ์ มากๆ

ประโยชน์ สารส้มนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางทั้งในอุตสาหกรรมและที่กี่ยวข้องกับผิวหนังของคน

กล่าวคือ

1 การใช้ประโยชน์ใ นอุตสาหกรรม ส่วนมากจะใช้ในอ ุตสาหรรมการประปา รองลง มาได้แก่ อุตสาหกรรมกระดาษ ย้อมผ้า ฟอกหนัง ผสมเป็นยาดับเพลิง สารดับกลิ่น ฟอกสี และ ผสมทำผงฟูใช้ในการทำขนมปัง เป็นต้น

2 การใช้เกี่ยวข้อ งกับผิวหนัง - ใช้ดับกลิ่นตัวไ ด้ทุกส่วนของร่างกายตามที่ต้องการ
โดยเฉพาะที่ใต้วงแขน ( รักแร้ ) และ เท้า สามารถระงับ กลิ่นได้ 100 %นานถึง 24 ช.ม
และหน่วงการเกิด กลิ่นได้ไม่ต่ำก ว่า 10 ช.ม
- ใช้ทาหลังโกนหนวดจะไม่ทำให้เกิด การระคายเคือง ช่วยห้ามเลือดและสมานบาดแผลที่เ กิดจากมีดโกนบาด หรือ บาดแผลเล็กน้อย

- ใช้ทาที่ส้นเท้า จะรักษาและป้องก ันส้นเท้าแตก
- ทาแก้คันตามผิวห นังเมื่อถูกยุงก ัดหรือคันจากสาเหตุอื่น

คุณสมบัติ
1 ไม่มีสีและกลิ่น ซึ่งเป็นคุณสมบั ติที่พิเศษของมั น เหมาะสำหรับผู้ท ี่ชอบใช้น้ำหอม เพราะจะไม่มีกลิ ่นไปรบกวนหรือหั กล้างกลิ่นน้ำหอ มที่ใส่อยู่ กล่าวคือ สารดับกลิ่นตัวส ่วนมากจะผสมน้ำห อมลงไปด้วย ทำให้ไปรบกวนกลิ ่นของน้ำหอมราคา แพงที่ใส่อยู่

2 ไม่เปื้อนเสื้อผ ้า เพราะไม่มีส่วนผ สมของ ครีม และน้ำมัน

3 ปลอดภัย กับร่างกาย กล่าวคือ

- ไม่อุดตันรูขน
- ไม่ซึมเข้าสู่ร่างกายเพราะตัวมั นทำให้เกิดประจุ ลบจึงไม่สามารถท ี่ผ่านผนังเซลได ้
- ไม่เป็นพิษต่อสิ ่งแวดล้อมและไม่ ทำลายโอโซน

4 ไม่เสื่อมสภาพ มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อมไม่เสื ่อมสภาพที่อุณหภูมิห้อง

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หมอก


หมอก คืออะไร
เกิดขึ้นได้อย่างไร
มีอันตรายต่อการบินอย่างไร
หมอก (Fog) - FG เป็นน้ำในอากาศหรือไฮโดรมีทีเออร์ ( hydrometeor) ชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยกลุ่มละอองน้ำขนาดเล็กมากสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าลอยอยู่ในอากาศใกล้พื้นดิน โดยปกติจะทำให้ทัศนวิสัยทางแนวนอนที่ผิวพื้นโลกลดลงเหลือน้อยกว่า 1 , 000 เมตร
ถ้าทัศนวิสัยมากกว่า 1 , 000 เมตร เรียกว่า หมอกบางหรือหมอกน้ำค้าง ( mist)

หมอกกับเมฆต่างกันแต่เพียงว่า หมอกนั้นมีฐานอยู่ติดกับพื้นดิน ส่วนเมฆจะมีฐานสูงเหนือพื้นดินขึ้นไป

โดยทั่วไปขณะเกิดหมอกทัศนะวิสัยจะต่ำกว่า 1 กิโลเมตร หมอกจึงเป็นปรากฎการณ์ที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการบิน เพราะทัศนะวิสัยมีความสำคัญต่อการบินมาก แม้ว่าในปัจจุบันเครื่องบินจะมีสมรรถนะในการบินขึ้น-ลงสนามบินได้เกือบทุกสภาวะอากาศก็ตาม แต่นักบินก็จะต้องมองเห็นทางวิ่งของสนามบิน ในกรณีที่มีหมอกปกคลุมสนามบิน สภาพอากาศขณะนั้นแจ่มใสไม่มีเมฆ ขณะทำการบินที่ตำแหน่งเครื่องบินพอเหมาะ นักบินสามารถมองเห็นสนามบินเบื้องล่างชัดเจน แต่เมื่อลดระดับลงมาอยู่ในชั้นของหมอก นักบินอาจมองไม่เห็นสนามบินเลย ทั้งนี้เพราะหมอกเกิดปกคลุมสนามบินไม่สูงจากพื้นดินมากนัก จะปกคลุมหนาทึบบริเวณใกล้พื้นดิน ปรากฎการณ์เช่นนี้มีความสำคัญมาก นักบินจะต้องคำนึงถึงให้มากเพราะเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุเครื่องบินตกมามากแล้ว

หมอกน้ำค้าง (Mist) - BR เป็นน้ำในอากาศหรือไฮโดรมีทิเออร์ ( hydrometeor) ซึ่งประกอบด้วยละอองน้ำ เล็กมากจนไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือละอองน้ำดูดความชื้น ( hydroscopic water droplets) ลอยอยู่ในอากาศ หมอกน้ำค้างมีลักษณะเช่นเดียวกับหมอกแต่บางกว่า เมื่อมีหมอกน้ำค้างเกิดขึ้นเหนือที่ใดมักจะแลดูคล้ายม่านบางสีเทาคลุมอยู่เหนือภูมิประเทศแห่งนั้น ทำให้ทัศนวิสัยที่ผิวพื้นโลกลดลงน้อยกว่าหมอก แต่ยังเห็นได้ไกลเกินกว่า 1 กม. ความชื้นสัมพัทธ์ในหมอกน้ำค้างมักจะน้อยกว่า 95% หมอกน้ำค้างเป็นสภาพอากาศที่อยู่ระหว่างฟ้าหลัวชื้น ( damp haze) กับหมอก

หมอกเป็นหย่อม (Fog patches) - BCFG เป็นหมอกซึ่งกระจายออกเป็นแนวไม่สม่ำเสมอกัน เป็นหย่อมๆ 4. อัตราส่วนผสมของอากาศจะต้องคงที่หรือเพิ่มขึ้น (Constant or Mixing ratio) 5. อากาศมีการทรงตัวดี (Stable air) และมี inversion ที่ระดับต่ำ การ

พยากรณ์หมอกสลายตัว : หมอกจะสลายตัวมีหลักสังเกตดังนี้

1. เมื่อมีความร้อนเกิดขึ้น เช่น ดวงอาทิตย์ส่องในตอนเช้า หมอกเมื่อได้รับความร้อนก็จะยกตัวกลายเป็นเมฆหรือระเหยกลายเป็นไอหมด

2. เมื่อลมมีกำลังแรงขึ้น หมอกจะสลายตัวได้เร็วชึ้น

3. เมื่อมีเมฆปกคลุมท้องฟ้ามากชึ้นจะทำให้หมอกสลายตียิ่งขึ้น การกำจัดหมอก การกำจัดหรือลดปริมาณหมอกลงในบริเวณพื้นที่จำกัดพื้นที่หนึ่ง โดยการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติหรือโดยการกระทำของมนุษย์ หมอกซึ่งเย็นจัดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ( Supercooled Fog) สามารถทำให้สลายตัวไปได้โดยการหว่านน้ำแข็งแห้งหรือซิลเวอร์ไอโอไดด์ ( dry ice or silver iodide) เข้าไปในหมอก

ส่วนหมอกอุ่น ( warm fog) สามารถกำจัดได้โดยวิธี FIDO(Fog Investigation Dispersal Operations) เป็นวิธีกำจัดหมอกซึ่งอังกฤษเป็นผู้ค้นคิดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเผาน้ำมันเบนซิน ( gasoline) หรือเชื้อเพลิงอื่นๆ ให้เป็นแนวไปตามข้าง ๆ ทางวิ่งของสนามบิน ( airfield runway) หมอกบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย

เรียบเรียงโดย menmen

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ฝน


ฝน เป็นรูปแบบหนึ่งของการตกลงมาจากฟ้าของน้ำ
นอกจากฝนแล้วยังมีการตกลงมาในรูป หิมะ เกล็ดน้ำแข็ง ลูกเห็บ น้ำค้าง

ฝนนั้นอยู่ในรูปหยดน้ำซึ่งตกลงมายังพื้นผิวโลกจาก เมฆ ฝนบางส่วนนั้นระเหยกลายเป็นไอก่อนตกลงมาถึงผิวโลก ฝนชนิดนี้เรียกว่า "virga" ฝนที่ตกลงมานั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของ วัฏจักรของน้ำ ซึ่งน้ำจากผิวน้ำใน มหาสมุทร ระเหยกลายเป็น ไอ ควบแน่น เป็นละอองน้ำในอากาศ ซึ่งรวมตัวกันเป็นเมฆ และในที่สุดตกลงมาเป็นฝน ไหลลงสู่ แม่น้ำ ลำคลอง ไปสู่ ทะเล มหาสมุทร และ วนเวียนเช่นนี้เป็นวัฏจักรไม่สิ้นสุด

ปริมาณน้ำฝนนั้นวัดโดยใช้ มาตรวัดน้ำฝน โดยเป็นการวัดความลึกของน้ำที่ตกลงมาสะสมบนพื้นผิวเรียบ สามารถวัดได้ละเอียดถึง 0.25 มิลลิเมตร หรือ 0.01 นิ้ว
บางครั้งใช้หน่วย ลิตรต่อตารางเมตร (1 L/m² = 1 mm) ฝนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อทางด้านเกษตรกรรมเป็นอย่างมากทั้งในด้านบวกและลบ ซึ่งพืชทุกชนิดที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ก็ต้องอาศัยน้ำเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต โดยที่ฝนตกจะเป็นการรดน้ำที่มีประสิทธิภาพสูงสุดทางธรรมชาติ ฝนตกในปริมาณที่มากเกินไปสามารถทำให้เกิดน้ำท่วมและส่งผลทำให้พืชบางชนิดล้มตายจากการเน่าเปื่อยอันเกิดจากเชื้อราได้

นอกจากนี้หากฝนไม่ตกตามฤดูกาลและเกิดภัยแล้งจากธรรมชาติยังสามารถทำลายพืชผลทางเกษตรกรรมได้ด้วยเช่นกัน วัฒนธรรมกับฝน มนุษย์มีทัศนคติต่อฝนที่แตกต่างกันตามวัฒนธรรม สังคม หรือเป็นความคิดส่วนบุคคล บางสังคมอาจจะเปรียบเทียบฝนกับความเศร้า ความรู้สึกหม่นหมอง บางสังคมอาจจะให้ความหมายของฝนเป็นสัญลักษณ์ของความหวัง ความชื่นชมยินดี หรือความเจริญงอกงาม บางครั้งการมีฝนตกเบาๆ หรือฝนตกหนักก็อาจถูกเรียกว่าเป็นความโรแมนติก

ข้อมูลอ้างอิงจาก Wikipedia
เรียบเรียงโดย menmen

อะไรคือธารน้ำแข็ง


ธารน้ำแข็ง คือ มวลของแข็งที่เคลื่อนที่ไปตามสภาพความลาดชันของแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งเกิดมาจากการตกทับถมของผลึกหิมะที่ตกลงมาทับถมกันปีแล้วปีเล่า และปริมาณหิมะที่ละลายมีน้อยมากเมื่อเทียบกับหิมะที่ตกลงมาบนโลก หิมะจึงสะสมตัวทับถมกันมากขึ้นเรื่อยๆ หิมะชั้นบนที่หนาขึ้นจะทับถมหิมะชั้นล่าง ทำให้หิมะชั้นล่างซึ่งโดนแรงกดอัดเกิดการตกผลึก กลายเป็นน้ำแข็ง และเมื่อปริมาณหิมะชั้นบนเพิ่มมากขึ้น น้ำหนักของมันจะกดทับมากขึ้นทำให้เกล็ดน้ำแข็งชั้นล่างค่อยๆ ละลาย และเกิดการเคลื่อนตัวขึ้น
การเคลื่อนที่ของธารน้ำแข็งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพต่างๆ ของพื้นผิวโลก

จากการศึกษาของนักธรณีวิทยาพบว่า ธารน้ำแข็งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 1.8 ล้านปีมาแล้ว
อยู่ในมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic)
ยุคควาเทอร์นารี(Quaternary) สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene)
อันเนื่องมาจากการลดอุณหภูมิต่ำลง ภูมิต่ำลง ทำให้เกิดการตกทับถมของหยาดน้ำฟ้าในรูปหิมะ กลายเป็นน้ำแข็งที่ตกบนพื้นโลก และไม่ละลายกลับลงสู่ทะเล เมื่อถึงฤดูร้อนทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับของน้ำทะเลบนโลก โดยพบว่ามีพื้นที่มากหลายล้านตารางกิโลเมตรในเขตอเมริกาเหนือ และในทวีปยุโรป บนภูเขาสูงแถบไซบีเรีย เป็นพื้นที่ที่มีการสะสมตัวของน้ำแข็งมาก Pitty (1973) กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่ของธารน้ำแข็งมีประมาณร้อยละ 11 ของโลก และในจำนวนนี้ ร้อยละ 30 - 50 สะสมตัวอยู่บนทวีป และร้อยละ 23 สะสมตัวอยู่ในทะเล ในกรีนแลนด์ มีหิมะตกทับถมตัวปกคลุมอยู่เป็นพื้นที่ถึง 1.7 ล้านตารางกิโลเมตร บางแห่งมีความหนาถึง 3 กิโลเมตร และในเขตแอนตาร์กติก มีพื้นที่หิมะปกคลุมถึง 1.295 ล้านตารางกิโลเมตร ทั้งสองบริเวณดังกล่าวมีปริมาณหิมะปกคลุมผิวโลกมากที่สุด

ทฤษฎีว่าด้วยการเกิดธารน้ำแข็ง ได้แก่ ทฤษฎีสุริยภูมิ (The Solar Tropographic Theory)
จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่าโลกเป็นดาวเคราะห์ที่เย็นลง และเกิดการสะสมตัวและ ทับถมของธารน้ำเริ่มตั้งแต่สมัย ไพลสโตซิน (Pleistocene)

ซึ่งมีหลักฐานว่าสาเหตุการเกิดเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศของโลกเย็นลง เกิดการสะสมตัวของหิมะบนผิวโลกมากขึ้นเนื่องจากปริมาณความร้อนที่แผ่รังสีจากดวงอาทิตย์มายังโลกมีน้อย จึงทำให้เกิดหิมะตก และอัตราการระเหยของมวลผลึกน้ำแข็งบนโลกลดลง ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าวเกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ( Plate Tectonic) มีการเคลื่อนตัวของแผ่นทวีปเกิดเป็นแนวภูเขาสูงๆ ขึ้นมา และจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์เหตุผลสนับสนุนทฤษฎีนี้อีกประการหนึ่งคือ

ปรากฏการณ์การลดลงของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนโลก ซึ่งก๊าซดังกล่าวจะช่วยดูดซับความร้อน
ที่สำคัญเมื่อปริมาณก๊าซลดลงจากร้อยละ 0.03 เหลือเพียงร้อยละ 0.015 ในขณะนั้น จึงทำให้อุณหภูมิของอากาศลดลงราว 4 องศาเซลเซียส มีผลทำให้เกิดการสะสมตัวของปริมาณน้ำแข็งมากขึ้นตามมา ทฤษฎีความต่างทางกลศาสตร์ (The Different Mechanism Theory)

ทฤษฎีนี้เชื่อว่าจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกทำให้เกิดแผ่นดินไหว และการระเบิดของภูเขาไฟ เป็นจำนวนมาก ทำให้ปริมาณฝุ่นละอองจากภูเขาไฟฟุ้งกระจายในบรรยากาศมากจนทำให้รังสีที่แผ่จากดวงอาทิตย์สะท้อนกลับออกไปนอกบรรยากาศโลกมาก ทำให้โลกได้รับรังสีความร้อนดังกล่าวลดลง และขณะเดียวกันฝุ่นละอองของภูเขาไฟจะเป็นตัวจับไอน้ำบนโลกให้ควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำตกลงมายังพื้นโลกเป็นหยาดน้ำฟ้า และเป็นต้นกำเนิดของการเกิดลำดับอายุธารน้ำแข็งบนโลกขึ้นมา

ทฤษฎีการเปลี่ยนตำแหน่งของทวีป (Shift in the Positions of Continents Theory)

ทฤษฎีนี้กล่าวว่าการเปลี่ยนตำแหน่งของทวีปตามทฤษฎีทวีปเลื่อนทำให้เกิดตำแหน่งของทวีปที่มีความเหมาะสมต่อการสะสมตัวของธารน้ำแข็งเกิดขึ้น

นอกจากนี้ในบางทฤษฎีมีการกล่าวอ้างถึงการเปลี่ยนแปลงทิศทางการไหลของกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมจึงทำให้สภาพภูมิอากาศแถบอาร์กติกเย็นลง และทำให้เกิดหิมะตกลงมา ประกอบกับความผันแปร
แนวการโคจรของโลก และดวงอาทิตย์ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พลังงานความร้อนที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์ลดลงส่งผลให้เกิดลำดับของยุคธารน้ำแข็ง,

เรียบเรียงข้อมูลโดยMANMAN

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อะไรคือน้ำแข็ง


น้ำแข็ง เป็นชื่อเรียกของสภาวะของแข็งของน้ำซึ่งมักอยู่ในรูปของผลึกของน้ำ

ซึ่งโดยปกติจะมีลักษณะใสหรือมีสีฟ้าขาวใสปนอยู่ด้วย ขึ้นอยู่กับการมีสิ่งเจือปนในน้ำแข็งนั้น โดยสภาวะปกติน้ำแข็งจะเกิดขึ้นเมื่อน้ำในรูปของเหลวมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส (32 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 273.15 เคลวิน ) ที่ ความดัน ปกติและสามารถแข็งตัวจากสถานะ ก๊าซ โดยไม่ผ่านสถานะ ของเหลว เลยก็ได้ เช่น ปรากฏการณ์ น้ำค้างแข็ง หรือแม่คะนิ้ง น้ำแข็งในธรรมชาติอยู่ในแหล่งต่างๆเช่น เกล็ดหิมะ ลูกเห็บ น้ำแข็งย้อย ธารน้ำแข็ง ภูเขาน้ำแข็ง และน้ำแข็งขั้วโลก ซึ่งน้ำแข็งเป็นส่วนสำคัญของสมดุลภูมิอากาศของโลก โดยเฉพาะวัฏจักรของน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่างๆ อีกด้วย ตั้งแต่ การใส่น้ำแข็งในน้ำดื่ม กีฬาฤดูหนาว จนไปถึง ประติมากรรม น้ำแข็ง

คุณลักษณะ ในฐานะเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นผลึกอนินทรีย์ที่เป็นของแข็งที่มีโครงสร้างเป็นระเบียบ, น้ำแข็งถือเป็น แร่ ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย โครงสร้างผลึก ซึ่งปกติขึ้นอยู่กับ โมเลกุล ของน้ำซึ่งประกอบด้วยอะตอมออกซิเจนอะตอมเดียวที่ถูกยึดเหนี่ยวไว้ด้วยพันธะโควาเลนซ์ถึงสอง อะตอมไฮโดรเจน หรือ H-O-H อย่างไรก็ตาม

คุณสมบัติทางกายภาพหลายอย่างของน้ำและน้ำแข็งจะถูกควบคุมโดยการก่อตัวของพันธะไฮโดรเจนระหว่างอะตอมออกซิเจนและอะตอมไฮโดรเจนที่อยู่ติดกัน มันเป็นพันธะที่อ่อนแอ แต่เป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมโครงสร้างของทั้งน้ำและน้ำแข็ง คุณสมบัติที่ผิดปกติของน้ำแข็งแช่แข็งที่ความดันบรรยากาศที่เป็นของแข็งจะอยู่ที่ประมาณ 9% ที่ความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ความหนาแน่นของน้ำแข็งคือ 0.9167 g / cm³ ที่ 0 ° C ในขณะที่น้ำมีความหนาแน่นที่ 0.9998 g / cm³ ที่อุณหภูมิเดียวกัน

น้ำเป็นของเหลวที่มีความหนาแน่นมากที่สุดเป็นหลักคือ 1.00 g / cm³, ที่ 4° C และจะกลายเป็นความหนาแน่นน้อยก็ต่อเมื่อโมเลกุลของน้ำเริ่มกลายเป็นผลึกรูปทรงหกเหลี่ยม ของน้ำแข็งเมื่อถึงจุดเยือกแข็ง

ทั้งนี้เนื่องจากพันธะไฮโดรเจนมีอำนาจเหนือกว่าแรงระหว่างโมเลกุล ซึ่งส่งผลให้มีการบรรจุของโมเลกุลขนาดกะทัดรัดกว่าไว้ในของแข็ง ความหนาแน่นของน้ำแข็งจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยด้วยการลดอุณหภูมิลงและมีค่า 0.9340 ³ g / cm ที่ -180 ° C (93 K) ผลของการขยายตัวระหว่างการแช่แข็งสามารถทำให้เกิดสิ่งอันน่าทึ่งและเป็นสาเหตุพื้นฐานของการ แข็งตัว-ละลาย ( freeze - thaw ) ของการผุกร่อนของ หิน ในธรรมชาติ

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย
เรียบเรียงโดยmenmen

อะไรคือน้ำตก


น้ำตกคืออะไร
น้ำ...จากแหล่งสะสมน้ำใต้ดินบนภูเขาสูง ไหลมารวมตัวกันเป็นธารน้ำ และจากธารน้ำ ในหลายพื้นที่มารวมกันก็กลายเป็นสายธารขนาดใหญ่ ไหลลงสู่ผืนแผ่นดินที่ต่ำกว่า ซึ่ง จะมีพลังการไหลที่รุนแรง มีการกัดเซาะในแนวดิ่ง และยังมีผลจากการที่สายน้ำไหล ผ่านผืนดินและแผ่นหินที่มีความแข็งแกร่งไม่เท่ากัน โดยพื้นดินจะถูกกัดเซาะออกไป ก่อน จากนั้นพื้นหินที่มีโครงสร้างอ่อน ก็จะถูกกัดเซาะให้สึกกร่อนเป็นร่องลึกกว่าพื้นหิน ที่มีโครงสร้างแข็ง เมื่อเวลาผ่านไป จึงเกิดเป็นผาน้ำตกที่สูงชัน หรือลุ่มลึก

โดยบริเวณ ตอนล่างของน้ำตกจะเกิดเป็นแอ่งลึกที่เรียกว่า แอ่งฐานน้ำตก ( Plunge-Pool) ความงดงามและความแตกต่างกันของน้ำตกแต่ละแห่งนั้น จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น โครงสร้างของผาหินที่ แตกต่างกัน โดยน้ำตกที่เกิดขึ้นบริเวณลานหินหรือผาหินแกรนิต จะมีลักษณะสูงใหญ่ ไหลตกลงมาจากผาดิ่งชัน ผา หินมักมีความมันวาว เช่น น้ำตกแม่ยะ น้ำตกวชิรธาร น้ำตกแม่กลาง บนดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ น้ำตกคลอง ลาน จังหวัดกำแพงเพชรส่วนน้ำตกที่เกิดจากผาหินที่มีโครงสร้างเป็นหินปูน จะเป็นน้ำตกขนาดกลางและน้ำตกขนาดเล็ก

เนื่องจากน้ำตก ที่มีโครงสร้างหินปูนนั้น จะมีการพอกพูนของแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นคราบหินปูนจับเกาะ และเพิ่มขนาดขึ้นเรื่อย ๆ ตามชั้นน้ำตก จึงเป็นน้ำตกที่มีชั้นสั้น ๆมากมายหลายชั้น และมีลีลาการไหลที่อ่อนช้อย แผ่กว้างออกไปด้านข้างเช่น น้ำตกห้วยขมิ้น น้ำตกไทรโยค น้ำตกเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี หรือน้ำตกทีลอซู จังหวัดตากและยังมีโครงสร้างของผาน้ำตกที่มีลักษณะเป็นหินทราย สายน้ำตกมีลักษณะราบกว้าง มีลานหินหลุมหิน หรือ โพรงหินที่เรียกว่า กุมภลักษณ์
ซึ่งเกิดจากก้อนกรวดที่ไหลมากับสายน้ำหมุนวนกลายเป็นตัวขุดเจาะอย่างดี น้ำตก ลานหินทรายนี้จะอยู่ทางภาคอีสาน และภาคเหนือบางพื้นที่ เช่น น้ำตกตาดโตน จังหวัดชัยภูมิ น้ำตกสร้อยสวรรค์ จังหวัดอุบลราชธานี หรือน้ำตกแก่งโสภา จังหวัดพิษณุโลกนอกจากโครงสร้างของผาหินแล้ว สภาพผืนป่ารอบข้าง

ก็ยังเป็นตัวช่วยให้น้ำตกเกิดความงดงามที่แตกต่างกัน เช่น น้ำตกที่ไหลลงมาท่ามกลางผืนป่าดงดิบนั้น บริเวณของน้ำตกก็จะชุ่มชื้น เขียวขจี มีพืชเล็ก ๆ ที่อาศัยละออง น้ำตกงอกงามขึ้นปกคลุมพื้นที่ เป็นพืชจำพวกมอส เฟิร์น เป็นต้น ส่วนผืนป่าที่มีลักษณะเป็นป่าผลัดใบ หรือป่าเต็งรัง อย่างเช่นน้ำตกตามลานหินทราย มักมีลานหินราบเรียบกว้างใหญ่อยู่สองข้างของน้ำตก

เรียบเรียงข้อมูลโดยMANMAN

ดื่ม น้ำแร่ ดีมั้ย ?!

ดื่ม น้ำแร่ ดีมั้ย ?!
(เดลินิวส์) นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน มีหลายคนสงสัยว่า "น้ำแร่" ต่างจากน้ำธรรมดาอย่างไร
แล้วที่บอกว่ามีแร่นั้น ชนิดใดบ้าง
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า

น้ำแร่มี 2 ชนิด คือ
ชนิดแร่น้อย และ ชนิดแร่มาก

ทางการกำหนดว่าต้องมาจากแหล่งธรรมชาติจริง ๆ เช่น น้ำพุธรรมชาติ น้ำพุร้อน และต้องไม่เอาแร่มาเติมใส่เอง พูดง่าย ๆ ว่าน้ำแร่ธรรมชาตินั้นรองจากน้ำพุใส่ขวดแล้วเอามาขายเลย หรือถ้าผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ หรืออัดแก๊สเข้าไปก็ต้องระบุไว้ในฉลากด้วย

ในน้ำแร่จะมีแร่ธาตุหลัก ๆ อยู่ 5 ชนิด คือ
แคลเซียม เกลือ (โซเดียม)แมกนีเซียม โพแทสเซียม และกำมะถัน

การดื่มน้ำแร่ก็คล้ายกับกินดินโป่ง เพราะแร่ในน้ำแร่ก็มาจากดินถ้าเปรียบไปก็คล้ายกับสิ่งมีชีวิตในป่าที่กินดินโป่งเอาแร่ธาตุ น้ำแร่ก็เหมือนกับยาน้ำบำรุงแร่ธาตุจากธรรมชาตินั่นเอง ราคาน้ำแร่จะแตกต่างกันมาก ขึ้นกับแหล่งผลิตและต้นทุนในการขนส่ง บางยี่ห้อเป็นน้ำแร่ฝรั่งเศส เยอรมนี พวกนี้จะแพงเพราะค่าขนส่งและภาษีขาเข้า แต่น้ำแร่ที่ผลิตในประเทศไทย ไม่มีต้นทุนอะไรมากนอกจากค่าขวดกับค่าโฆษณา จึงมีราคาถูกกว่า เว้นแต่มีการเช่าสัมปทานแหล่งน้ำพุแร่ธรรมชาติ ผู้ผลิตก็จะบวกค่าโสหุ้ยนี้เข้าไป ถ้าถามว่า จำเป็นที่คนต้องกินน้ำแร่หรือไม่ ที่จริงแล้วจะกินก็ได้หรือไม่กินก็ไม่เสียหายอะไร เพราะแร่ธาตุนั้นเป็นของต้องการน้อย แต่ขาดไม่ได้

บรรดาธาตุในน้ำแร่นี้ปกติเราก็ได้จากอาหารอยู่แล้ว การที่น้ำแร่มีแร่ธาตุเจืออยู่ทำให้เกิดรสชาติเฉพาะบางคนอาจชอบดื่มน้ำแร่ เพราะลิ้นอาจไวต่อรสชาติกร่อยเหล่านี้ก็ได้

น้ำแร่มีประโยชน์หรือไม่ ?

นพ.กฤษดา กล่าวว่า มีประโยชน์ ร่างกายต้องการใช้ปรุงสารเคมีต่าง ๆ เลี้ยงตัวเอง แต่ปกติธาตุพวกนี้ก็ได้จากอาหารมากอยู่แล้ว ได้แก่ แคลเซียม พบมากในกะปิ เต้าหู้ งาดำ เกลือโซเดียม แมกนีเซียม พบใน ผักใบเขียวจัด โพแทสเซียม พบในกล้วย ส้ม กำมะถัน พบใน กระเทียม หัวหอม ขึ้นฉ่าย ทุเรียน เคยมีบางการศึกษาแนะว่า

คนที่ควรกิน คือ

1.ผู้ใหญ่วัยทอง ต้องสร้างกระดูก
2.คนที่กินนมวัวไม่ได้ จะได้แคลเซียมจากน้ำแร่
3.เด็กน้อยที่กำลังโต ซึ่งมีงานวิจัยหนึ่งพบว่าธาตุแคลเซียมในน้ำแร่ดูดซึมได้ดีกว่าจากนมวัวสด
นอกจากนั้นยังมีการวิจัยหนึ่งในอิตาลีพบว่าช่วยป้องกันฟันผุได้

มีข้อดีประการหนึ่งของน้ำแร่ คือ มีงานวิจัยพบว่าน้ำแร่บริสุทธิ์นั้น ไม่พบรายงานการติดเชื้อท้องเสียจากการดื่มน้ำแร่ โดยการศึกษาโบเมอร์และเรชส์เมื่อปี ค.ศ. 2000 ดูว่ามีประเทศตะวันตกใดพบปัญหาท้องเสียจากน้ำบ้าง ซึ่งพบว่ามีผู้ท้องเสียจากการดื่มน้ำประปากว่า 4 แสนคน เมื่อเทียบกับผู้ดื่มน้ำแร่ที่ไม่พบรายงานปัญหาเช่นว่านี้เลย

ที่ควรพึงระวัง คือ

1.น้ำแร่อาจมีโซเดียมทำให้คนวัยทองความดันขึ้น

2.คนที่มีปัญหาเรื่องไตหรือทางเดินปัสสาวะไม่ค่อยดี น้ำแร่อาจไปตกตะกอนเกิดตะกรันนิ่วอุดท่อฉี่ได้

3.คนที่มีปัญหาโรคหัวใจต้องระวัง "ธาตุโพแทสเซียม" ในน้ำแร่ไปกวนหัวใจให้เต้นผิดปกติ

4.แร่บางอย่างในเด็กถ้ามากเกินไปจะเป็นพิษอย่าง "ฟลูออไรด์" ทำให้ฟันเป็นจุดด่างดำแทน

5.คนท้องต้องระวังเรื่องน้ำแร่ อัดแก๊สที่อาจทำให้ลมขึ้นเสียดท้องได้ และน้ำแร่ที่มีโลหะหนักมากอาจไปสะสมในทารกได้ และ

6.โลหะหนักปนเปื้อนในน้ำแร่สะสมในคนได้ เช่น สารหนู ตะกั่ว ปรอท แมงกานีส ซีลีเนียม สิ่งที่อยากฝากคือ น้ำดื่มที่ดีที่สุดไม่ใช่น้ำดื่มที่ปราศจากแร่ใด ๆ เลย ซึ่งอย่างนั้นเรียกน้ำกลั่น จะใช้เติมแบตฯ รถยนต์หรือใช้ในห้องทดลองเท่านั้น แหล่งน้ำดื่มที่ดีที่สุดคือ น้ำประปา น้ำกรองหรือน้ำธรรมชาติที่ไหลเวียนอยู่เสมอไม่ใช่น้ำนิ่ง ถ้าจะดื่มน้ำแร่ขอให้เลือกดูที่ข้างฉลากบอกปริมาณแร่ธาตุสำคัญ จะได้ไม่ต้องรับแร่ธาตุเกินไปกระตุ้นโรค เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก MANMAN

น้ำบาดาล




น้ำบาดาล หมายถึง

ส่วนของน้ำใต้ผิวดินที่อยู่ในเขตอิ่มน้ำ รวมถึงธารน้ำใต้ดินโดยทั่วไป หมายถึง น้ำใต้ผิวดินทั้งหมด ยกเว้นน้ำภายในโลก ซึ่งเป็นน้ำอยู่ใต้ระดับเขตอิ่มน้ำ

(พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา,2530) ในทางกฎหมายน้ำบาดาล
ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ.2520 กำหนดไว้ว่า น้ำบาดาล หมายความว่า น้ำใต้ดินที่เกิดอยู่ในชั้นดิน กรวด ทราย หรือหิน ที่อยู่ลึกจากผิวดินเกินความลึกที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่จะกำหนดความลึก น้อยกว่า 10 เมตร มิได้ วิกฤตน้ำบาดาล น้ำบาดาลในกรุงเทพมหานครและรอบข้าง

กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ ลึกลงไปในพื้นดินของเมืองกรุงเทพจะมีแหล่งเม็ดกรวดและทราย ซึ่งจะมีขนาดใหญ่และกลมมน จึงสามารถกักเก็บน้ำบาดาลไว้ได้มากเราเรียกชั้นเม็ดกรวดทรายว่า ชั้นน้ำบาดาล ชั้นน้ำบาดาลนี้ จะวางตัวสลับอยู่กับชั้นของดินเหนียว จึงทำให้มีชั้นน้ำบาดาลหลายชั้น แต่ละชั้นแยกจากกัน เพราะมีชั้นดินเหนียวคั่นอยู่ ชั้นน้ำดังกล่าวแผ่ขยายไปทางทิศเหนือ ถึงจังหวัดชัยนาท และกระจายไปทางทิศตะวันตกและตะวันออกของกรุงเทพ จรดขอบแอ่งเจ้าพระยา แผ่ไปทางใต้จรดอ่าวไทย ดังนั้นกรุงเทพของเราจึงมีแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่และมีปริมาณมากที่สุด ผลการเจาะสำรวจปิโตรเลียมพบว่าบริเวณท้องที่อำเภอภาษีเจริญมีชั้นกรวดทรายสลับชั้นดินเหนียวหนาถึง 1,830 เมตร คือเกือบ 2 เมตรและชั้นน้ำบาดาลจากผิวดินลึกลงไป 600 เมตร แบ่งได้ 8ชั้น ส่วนที่ลึกลงไปกว่านั้นก็ยังมีชั้นบาดาลอยู่อีก แต่ยังไม่มีการใช้ ชั้นน้ำ 8 ชั้นดังกล่าวมีดังนี้

ชั้นที่ 1 ชั้นน้ำกรุงเทพฯ ความลึก 50 เมตร เป็นชั้นน้ำบนสุดและส่วนบนของชั้นน้ำปกคลุมด้วยดินเหนียว ชั้นน้ำกรุงเทพฯมีปริมาณน้ำมาก แต่คุณภาพไม่เหมาะสมกับการบริโภคเพราะเป็นน้ำเค็ม ยกเว้นด้านใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงเทพที่เป็นน้ำกร่อยพอจะใช้ได้แทรกอยู่ในระดับ 50-60 เมตร

ชั้นที่ 2 ชั้นน้ำพระปะแดง ความลึก 100 เมตร เป็นชั้นน้ำที่อยู่ถัดจากชั้นน้ำกรุงเทพฯ ปริมาณน้ำในชั้นน้ำนี้มีมากเหมือนกัน แต่คุณภาพจะเป็นน้ำกร่อย หรือไม่ก็ค่อนข้างเค็มเป็นส่วนใหญ่ จะมีที่เป็นน้ำจืดก็คือบริเวณอำเภอพระปะแดง อำเภอเมืองสมุทรปราการ และฝั่งธนบุรีตอนใต้ ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนไปเป็นน้ำกร่อย และบางแห่งเปลี่ยนไปเป็นน้ำเค็มไปแล้ว เนื่องจากมีการสูบน้ำขึ้นมาใช้เป็นจำนวนมาก

ชั้นที่ 3 ชั้นน้ำนครหลวง ความลึก 150 เมตร เป็นชั้นน้ำที่อยู่ถัดจากชั้นน้ำพระปะแดงลงไป ประกอบด้วยกรวดทรายที่แผ่ขยายไปถึง จังหวัด ชัยนาท และไปทางตะวันออกและตะวันตก เป็นชั้นน้ำที่มีการสูบน้ำมาใช้กันมากที่สุด เนื่องจากเป็นน้ำดีทั้งปริมาณและคุณภาพ ยกเว้นบริเวณฝั่งธน และตอนใต้ของกรุงเทพฯ ที่เป็นน้ำกร่อยถึงเค็ม บ่อที่เจาะลึกถึงชั้นน้ำนครหลวงสามารถสูบน้ำได้อัตรา 100-300 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง

ชั้นที่ 4 ชั้นน้ำนนทบุรี ความลึก 200 เมตร ชั้นน้ำนี้วางตัวขนานกับชั้นน้ำนครหลวง มีคุณสมบัติทางอุทกธรณีวิทยา คล้ายคลึงกับสภาพน้ำบาดาลในชั้นน้ำนครหลวง ปริมาณน้ำสามารถสูบได้ถึง 150-300 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่งโมง ซึ่งในชั้นเดิมทีก่อนปี 2518 ไม่ค่อยได้มีการเจาะลึกลงมาสถึงเพราะอยู่ลึกมากทำให้ค่าใช้จ่ายสูง แต่เมื่อชั้นน้ำนครหลวงเริ่มเกิดวิกฤตการณ์น้ำบาดาลขึ้นคุณภาพที่ดีเริ่มเปลี่ยนไป ในปัจจุบันบ่อน้ำบาดาลขนาดใหญ่ๆ ของการประปานครหลวง และโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ได้เจาะลึกถึงชั้นน้ำนนทบุรีแล้ว จึงทำให้เกิดวิกฤตการณ์น้ำบาดาลในบางบริเวณขึ้นแล้วขณะนี้

ชั้นที่ 5 ชั้นน้ำสามโคก ความลึก 300 เมตร ชั้นน้ำนี้วางตัวอยู่ใต้ชี้นนนทบุรี บ่อน้ำบาดาลส่วนใหญ่ที่เจาะอยู่ในชั้นนี้จะอยู่บริเวณเหนือ จ.นนทบุรี จนถึงตัว จ.ปทุมธานี คุณภาพน้ำไกล้เคียงกับชั้นน้ำนนทบุรี แต่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า

ชั้นที่ 6 ชั้นน้ำพญาไท ความลึก 350 เมตร ชั้นน้ำพญาไทนี้มีลักษณะทางอุทกธรณีวิทยา และสภาพน้ำบาดาลเหมือนกับชั้นน้ำสามโคก โดยมีแหล่งน้ำจืดเฉพาะด้านเหนือ ตะวันออก และตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงเทพมหานคร ส่วนทางใต้และเขตธนบุรีจะเป็น น้ำเค็ม

ชั้นที่ 7 ชั้นน้ำธนบุรี ความลึก 450 เมตร ชั้นน้ำธนบุรีนี้จะอยู่ใต้ชั้นน้ำพญาไท น้ำบาดาลในชั้นนี้ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำจืดและค่อนข้างจืด ยกเว้นบริเวณฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของธนบุรี จะเป็นน้ำกร่อยจึงเค็ม

ชั้นที่ 8 ชั้นน้ำปากน้ำ ความลึก 500 เมตร เป็นชั้นน้ำบาดาลที่ลึกที่สุดที่ให้น้ำจืดทุกบริเวณ ในปัจจุบันได้มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เจาะบ่อและสูบน้ำจากชั้นน้ำนี้ โดยเฉพาะในบริเวณที่ชั้นน้ำระดับตื้นกว่าเป็นน้ำเค็ม เช่น บริเวณอำเภอพระปะแดง จ.สมุทรปราการ บ่อสามารถสูบได้มากกว่า 45 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่งโมง และชั้นน้ำนี้ให้ความร้อนอุณหภูมิสูงถึง 48 องศาเซลเซียส เพราะฉะนั้นน้ำที่สูบขึ้นมาจะเป็นน้ำร้อน เรียบ


เรียงข้อมูลโดยmanman

น้ำหมายถึง


ทรัพยากรน้ำ
น้ำหมายถึง ของเหลวเกิดจากการรวมตัวกันของก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจนในภาวะที่เหมาะสมหรือความหมายในลักษณะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้อุปโภค บริโภค ชำระล้างร่างกาย ใช้ในการเพาะปลูก การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การคมนาคมทางน้ำ การผลิตพลังงาน

ทรัพยากรน้ำยังเป็นทรัพยากรประเภทหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นทดแทนอยู่ตลอดเวลาเป็นวัฎจักร ความสำคัญของแหล่งน้ำ น้ำ จัดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิต เช่น พืช สัตว์ ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และรักษาสมดุล ของระบบนิเวศ ประโยชน์ของทรัพยากรน้ำ น้ำฝน ถือเป็นแหล่งกำเนิดของน้ำแทบทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศไทย ฝนที่ตกเมื่อไหลลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง แอ่งน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ จะเรียกว่า น้ำท่าเมื่อซึมลงสู่ใต้ดินจะเรียกว่าน้ำใต้ดินและน้ำบาดาล

น้ำท่า คือ น้ำไหลในแม่น้ำลำธาร เกิดจากน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่รับน้ำ บางส่วนสูญเสียไป ส่วนที่เหลือก็จะไหลไปยังที่ลุ่มลงสู่แม่น้ำ ลำธารกลายเป็นน้ำท่า ร้อยละ 75 จะสูญเสียไปเนื่องจากการระเหยกลายเป็นไอน้ำ เมื่อซึมลงสู่ใต้ดินกลายเป็นน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลและขังอยู่ตามแหล่งน้ำต่างๆ เพียงร้อยละ 25 ที่ไหลลงสู่แม่น้ำลำธารไปเป็นน้ำท่า

น้ำใต้ดิน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ น้ำตื้นเป็นน้ำใต้ดินที่อยู่ในชั้นดินกรวดทรายระดับตื้น และน้ำบาดาลคือน้ำใต้ดินที่แทรกอยู่ในชั้นดิน กรวดทรายระหว่างชั้นทึบน้ำ2 ชั้น หรือน้ำใต้ดินที่อยู่ในรอยแตกของหิน ซึ่งแหล่งน้ำใต้ดินที่สำคัญสามารถนำมาพัฒนาใช้ประโยชน์ได้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เช่นเดียวกับทรัพยากรชนิดอื่น ซึ่งนับวันจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นแหล่งน้ำบาดาลของประเทศมีอยู่โดยทั่วไปในทุกภาค ซึ่งจะให้ปริมาณน้ำมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพของชั้นดินในแต่ละพื้นที่

สถานการณ์ทรัพยากรแหล่งน้ำ วิกฤตการณ์การขาดแคลนน้ำจากสาเหตุต่างๆ เช่น ความต้องการน้ำใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น ความต้องการน้ำใช้ในกิจกรรมต่างๆ มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นความสมดุลของทรัพยากรน้ำระหว่างฤดูแล้งและฤดูฝนไม่สมดุล รวมถึงการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆ ที่ขาดแผนการใช้ที่รัดกุมและเหมาะสมรวมทั้งขาดองค์กรระดับชาติที่จะเข้ามาบริหารจัดการแหล่งน้ำ ตลอดจนแหล่งน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันมีสภาพเสื่อมโทรม เน่าเสีย คุณภาพไม่เหมาะสมไม่สามารถนำมาใช้ได้

จากปัญหาที่กล่าวมานี้ เกิดจากสาเหตุหลายประการเช่น

1. สภาพแหล่งต้นน้ำลำธารถูกทำลาย การบุกรุกทำลายแหล่งน้ำ ส่งผลให้ พื้นที่ต้นน้ำลำธารอันเป็นแหล่งกำเนิดน้ำ ไม่สามารถดูดซับหรือชะลอน้ำไว้ในดิน เมื่อเกิดฝนตกหนักจึงทำให้มีน้ำไหลบ่าลงมาท่วมพื้นที่ตอนล่างอย่างรวดเร็วและรุนแรง

2. สภาพน้ำท่า เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ตกชุก ในทุกๆ ภาคของประเทศมี ปริมาณน้อยกว่าเกณฑ์เฉลี่ยโดยเฉพาะในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่ามีปริมาณลดลงไปด้วย

3. การใช้น้ำและความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นในทุกลุ่มน้ำ กิจกรรมต่างๆ ทั้งทาง อุตสาหกรรม เกษตรกรรม อุปโภคและบริโภค การท่องเที่ยว ตลอดจนการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรมล้วนเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความต้องการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น

4. การบุกรุกทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำต่างๆ การขยายตัวของบ้านจัดสรรโรงงาน อุตสาหกรรม การพัฒนาการคมนาคมขนส่ง โดยขาดการวางแผนก่อให้เกิดการบุกรุกทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำหรืออาจทำให้มีการปนเปื้อนของสารพิษลงสู่แหล่งน้ำได้

เรียบเรียงข้อมูลโดยMANMAN

รายการบล็อกของฉัน