ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เอิตซี มนุษย์น้ำแข็ง ที่มีรอยสักเก่าแก่ที่สุดในโลก อายุเป็นพันปี

รอยวงแดงๆคือตำแหน่งร่องรอยสักที่เห็นได้ชัดเจน
ค้นหา
Custom Search
แม้จะผ่านกาลเวลามาร่วมห้าพันปี
เอิตซี มนุษย์น้ำแข็ง ที่มีรอยสักเก่าแก่ที่สุดในโลก อายุเป็นพันปี
ร่องรอยการสักบนผิวหนังของเอ็ตซี่ มนุษย์น้ำแข็งห้าพันปี

Otzi Iceman เอิตซี มนุษย์น้ำแข็ง ที่ว่ากันว่ามีรอยสักที่เก่าแก่ที่สุดในโลกถึง 61 รอยสัก 

และมีอายุกว่า 5,250 ปีเลยทีเดียว โดยนักไต่เขาได้พบศพของ มัมมี่ เอิตซี ที่บริเวณเทือกเขาแอลป์ ในประเทศอิตาลี เมื่อปี 1991
Otzi Iceman 

มหัศจรรย์ของน้ำซัมซัม


ค้นหา
Custom Search
ซัมซัม คือบ่อน้ำในกรุงมักกะฮฺ ที่มุสลิมเราทุกๆ คนรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะเวลามีผู้ไปทำฮัจญ์กลับมา มักจะนำน้ำซัมซัมมาให้เราดื่มกันเสมอ นัยว่าเพื่อเป็นสิริมงคล ส่วนมากมักจะทราบกันดีแล้วว่า น้ำซัมซัม คือน้ำจากตาน้ำใต้ดิน เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยท่านศาสดาอิบรอฮีม 

เมื่อพระนางฮะญัรฺ ซึ่งอยู่ในทะเลทรายเพียงลำพังกับท่านศาสดาอิสมาอีล และกำลังอยู่ในภาวะขาดน้ำเป็นอย่างยิ่ง จนต้องวิ่งไปมาระหว่างภูเขาซอฟา กับมัรวะฮฺเพื่อหาน้ำถึงเจ็ดเที่ยว กว่าพระผู้เป็นเจ้าจะประทานน้ำจากตาน้ำให้ผุดขึ้นมาบริเวณปลายเท้าของท่านศาสดาอิสมาอีลที่กำลังเป็นทารกอยู่ และนั่นคือกำเนิดของน้ำซัมซัม เมื่อประมาณสองพันปีก่อนคริสต์ศักราช
นั่นคือ ความมหัศจรรย์สิ่งแรกของน้ำซัมซัมนี้ แต่ที่น่าประหลาดมหัศจรรย์ตามมานั่นก็คือหลังจากนั้นแล้ว น้ำจากตาน้ำแห่งนี้ก็ไม่เคยเหือดแห้งอีกเลย ทั้งๆ ที่มันถูกใช้ในการอุปโภค บริโภค โดยคนมักกะฮฺล้านหกแสนคนทุกวัน ร่วมกับผู้แสวงบุญ ประมาณสี่ล้านคนต่อปีในช่วงเทศกาลฮัจญ์ แต่บ่อน้ำเล็กๆ นี้ก็ยังสามารถให้น้ำแก่คนเหล่านี้ได้อย่างครบถ้วน ไม่เคยขาดตกบกพร่องไปแต่อย่างใด

แต่อย่างไรก็ตาม เราต้องรู้ก่อนว่า แคลเซียมในปริมาณมากๆ นั้นอาจจะตกตะกอนทำให้เกิดเป็นนิ่วได้ ดังนั้น ก็ควรดื่มแต่พอสมควร อย่าดื่มมากจนเกินไปคือไม่ควรเกินสองลิตรต่อวัน ถ้าอากาศไม่แห้งมาก และถ้าน้ำนั้นมีกลิ่นรุนแรงจากสารธาตุต่างๆ มากเกินไป ก็อย่าเพิ่งดื่ม ควรจะรอให้กลิ่นต่างๆ เหล่านั้นระเหยไปให้หมดก่อน น่าจะเป็นการดีกว่า

เมื่อปี ค.ศ. 1971 ได้มีแพทย์ชาวอียิปต์ท่านหนึ่ง ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นมุสลิมหรือเปล่า ได้เขียนบทความเผยแพร่ว่า น้ำซัมซัมนั้น มีความเสี่ยงที่จะเป็นบ่อเกิดแห่งเชื้อโรคต่างๆ โดยอ้างว่า เพราะบ่อน้ำนี้มีแหล่งกำเนิดที่บริเวณกะอฺบะฮฺ ซึ่งเป็นที่ลุ่มภายในหุบเขาที่ลุ่มเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ ของเมือง อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และยังอยู่ใจกลางของเมืองมักกะฮฺด้วย ดังนั้น จึงน่าจะเป็นแหล่งที่น้ำเสียต่างๆ วิ่งไปรวมกัน ก่อให้เกิดเป็นแหล่งน้ำซัมซัมขึ้นมา

เรื่องนี้เมื่อทราบถึงกษัตริย์มักกะฮฺในสมัยนั้นคือ กษัตริย์ฟัยซอล พระองค์ทรงพิโรธ ผู้เขียนบทความนี้เป็นอย่างยิ่งมาก และได้สั่งให้มีการสำรวจบ่อน้ำซัมซัม และให้มีการตรวจทางวิทยาศาสตร์ยืนยันทันทีว่ามีส่วนผสมที่อันตรายต่อร่างกายอยู่หรือไม่และสามารถใช้ในการอุปโภคบริโภคได้อย่างปลอดภัยจริงหรือไม่ โดยส่งน้ำไปตรวจยังประเทศยุโรปเพื่อเป็นการยืนยัน และให้กระทรวงทรัพยากรน้ำเป็นผู้สำรวจ

คณะสำรวจได้ทำการสำรวจบ่อซัมซัมทั้งหมด โดยลงไปถึงก้นบ่อที่มีความลึก 30 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 เมตร มีระดับน้ำในบ่ออยู่ประมาณ 3 เมตรจากผิวบ่อ ได้มีการค้นจนทั่วบ่อ แต่ไม่พบท่อใดๆ ที่ต่อเข้ามาในบ่อ เป็นเครื่องชี้ว่า ไม่มีการนำน้ำอื่นๆ เข้ามาในบ่อได้อย่างเด็ดขาด แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่พบรอยแตกรั่วของพื้นก้นบ่อ ที่จะแสดงว่า น้ำไหลออกมาจากที่ใด และเมื่อมีการสูบน้ำด้วยเครื่องสูบอย่างแรง กลับพบว่า มีน้ำซึมปุดๆ ออกมาจากพื้นก้นบ่อในทุกๆ ที่อย่างเท่าเทียมกัน 

เมื่อสูบน้ำเป็นปริมาณ 8,000 ลิตรต่อวินาที เป็นเวลา 24 ชั่วโมงเต็ม ปรากฏว่า ระดับน้ำได้บ่อ ลดลงจาก 3 เมตร เป็น 13 เมตร หลังจากน้ำระดับน้ำก็ไม่ลดลงอีก และเมื่อหยุดสูบ น้ำก็กลับเพิ่มเต็มขึ้นจนถึงระดับเดิมคือ 3 เมตรจากผิวบ่อ ภายในเวลา 11 นาที และพบว่า น้ำนี้เป็นบ่อใหญ่มาจากชั้นหินอุ้มน้ำของน้ำชั้นน้ำใต้ดิน ที่อยู่ใต้เมืองมักกะฮฺ เรียกว่า วาดี อิบรอฮีม

ผลการตรวจสภาพน้ำพบว่า มีสภาพสะอาด มีส่วนประกอบของแคลเซียม และแมกนีเซียม มากกว่าน้ำปกติ แต่ที่สำคัญคือ มีฟลูออไรด์ในปริมาณมากพอ จนมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคได้ ดังนั้น น้ำซัมซัมจึงมีความสะอาด สามารถที่จะบริโภคได้อย่างปลอดภัย การตรวจสอบครั้งนี้ จึงสามารถลบข้อกล่าวหาเรื่องน้ำไม่สะอาดได้อย่างหมดจดที่สุด....
เรียบเรียงข้อมูลโดยเพิ่มเติม โดย menmen

นาซาคาดปี 2100 น้ำทะเลสูงขึ้นเกือบ 1 ฟุต

ค้นหา
Custom Search
‘นาซา’ คาดปี 2100 น้ำทะเลสูงขึ้นเกือบ 1 ฟุตเก็บข้อมูล 25 ปี โยงเหตุโลกร้อน-น้ำแข็งละลาย

“องค์การนาซา” ซุ่มเก็บข้อมูลดาวเทียม 25 ปี คาดการณ์ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นถึงเกือบ 1 ฟุต 
ภายในปี 2100 เร่งทำวิจัยต่อเนื่อง พิสูจน์หลักฐานเชื่อมโยงปรากฏการณ์โลกร้อน

12 ก.พ.ที่ผ่านมา ทีมติดตามระดับการเปลี่ยนแปลงน้ำทะเล (Sea Level Change) ของนาซา (NASA)
เผยงานวิจัยชื่อ “Climate-change–driven accelerated sea-level rise detected in the altimeter era” (ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น) ในวารสารวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ PNAS (Proceedings of the National Academy of Sciences) ซึ่งได้มีการติดตามข้อมูลดาวเทียมเป็นเวลา 25 ปี พบว่า ระดับน้ำทะเลทั่วโลกกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 
จากในช่วงปี 1990 ที่เคยเพิ่มขึ้นปีละ 2.5 มิลลิเมตร/ปี ปัจจุบันกลับเพิ่มขึ้นถึงปีละ 3.4 มิลลิเมตร/ปี นับเป็นอัตราที่รวดเร็วขึ้นมากโดยเฉพาะช่วง 10 ปีหลัง

สาเหตุหลักเป็นที่คาดเดาได้ เพราะอุณหภูมิโลกด้วยรวมร้อนขึ้น นั่นทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นจากสองปัจจัยคือ หนึ่ง-ปริมาตรน้ำขยายตัวขณะที่น้ำในทะเลร้อนขึ้น 
และสอง-การละลายของน้ำแข็งบก (land ice) ที่ปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอนตาร์กติกา รวมถึงธารน้ำแข็ง (glacier) ลงสู่มหาสมุทร ซึ่งนาซาคาดว่า หากระดับน้ำทะเลยังคงเพิ่มสูงในอัตราเท่าเดิมอย่างต่อเนื่อง ภายในปี 2100 ระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะสูงถึง 26 นิ้วหรือ 65 มิลลิเมตร และนั่นเพียงพอที่จะสร้างผลกระทบใหญ่หลวงให้กับเมืองชายฝั่งทั่วโลก

รายงานดังกล่าวเป็นโครงการร่วมมือขององค์กรในหลายๆ ประเทศ ได้แก่ นาซา องค์การศึกษาวิจัยอวกาศแห่งชาติฝรั่งเศส (CNES) องค์กรยุโรปสำหรับใช้ประโยชน์จากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา (EUMETSAT) และองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ (NOAA) 

โดยเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 1992 จากดาวเทียมที่ชื่อ Topex/Poseidon (เริ่มปฏิบัติการปี 1992-2006) Jason-1 (เริ่มปฏิบัติการปี 2001) Jason-2 (เริ่มปฏิบัติการปี 2008) และ Jason-3 (เริ่มปฏิบัติการปี 2016) ดาวเทียมแต่ละตัวจะสำรวจระดับน้ำทะเลและเก็บข้อมูลทุกๆ 10 วัน เป็นเวลา 25 ปี

ข้อค้นพบจากข้อมูลสำรวจฝั่งแอนตาร์กติกาเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับฝั่งอาร์กติกที่ว่า ทะเลน้ำแข็งอาร์กติกเองก็มีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จากรายงานประจำปี 2017 เรื่องสถานการณ์ทะเลอาร์กติก (Arctic Research Program) โดยหน่วยงาน NOAA เผยแพร่เมื่อเดือน ม.ค. ปี 2018 ที่ผ่านมา นับเป็นอีกสัญญาณเตือนว่าโลกได้เดินทางมาสู่ความเปลี่ยนแปลงขั้นสุด (อ่านต่อ: https://greennews.agency/?p=16164)นายจอห์น ฟาซูลโล (John Fasullo) นักวิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ศูนย์วิจัยบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NCAR) และหนึ่งในทีมวิจัยดังกล่าวให้ข้อคิดเห็นว่า

“ข้อสรุปจากงานวิจัยชิ้นนี้ย้ำให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของการนำผลบันทึกจากดาวเทียมมาใช้ในการคาดการณ์แบบจำลองสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น ถ้าการคาดคะเนถูกต้อง เท่ากับว่าระดับน้ำทะเลจะสูงถึงเกือบ 1 ฟุต ภายในปี 2100 ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกเมืองชายฝั่งทั่วโลกแน่นอน และเลวร้ายกว่านั้น หากระดับน้ำทะเลสูงถึง 2 ฟุต บางส่วนของเมืองชายฝั่งใหญ่ๆ เช่น ลอนดอน อัมสเตอร์ดัม นิวยอร์ก ไมอามี กวางโจว หรือโตเกียว มีความเป็นไปได้ที่จะจมอยู่ใต้บาดาล”

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาช่วยเหลือ แต่การเก็บข้อมูลและการตีความในการวัดระดับน้ำทะเลทั่วโลกนั้นยากที่จะคาดการณ์ เนื่องจากในระยะหลังมีปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ส่งผลให้เกิดสภาวะอากาศแปรปรวนอันมีผลต่อการเพิ่มหรือลดลงของระดับน้ำทะเล เช่น ปรากฏการณ์เอลนีโญ และลานีญาโปรเจ็คต์ต่อไป ของนาซาจึงต้องการตอบคำถามว่า การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของน้ำทะเลเกิดขึ้นเนื่องจากอะไร แอนตาร์ติกาและกรีนแลนด์จะเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเผชิญกับภาวะโลกร้อน 

โดยนาซาได้ร่วมมือกับหน่วย
งานอื่นๆ ทำโปรเจ็คต์ที่ชื่อ “Operation IceBridge and Oceans Melting Greenland” เพื่อรวบรวมข้อมูลการวัดแผ่นน้ำแข็งและธารน้ำแข็ง และสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์สำหรับจับตามองปรากฏการณ์นี้โดยเฉพาะ
ทั้งนี้ ในปี 2018 นาซาเตรียมปล่อยดาวเทียมอีก 2 ดวง เพื่อปรับปรุงการคาดการณ์ระดับน้ำทะเลในอนาคต 

ได้แก่ หนึ่ง-ภารกิจ Gravity Recovery and Climate Experiment Follow-On 
(GRACE-FO) ร่วมมือกับองค์กรที่ชื่อ GeoForschungsZentrum (GFZ) ประเทศเยอรมนี สำรวจและวัดมวลแผ่นน้ำแข็งในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา และสอง-ภารกิจ Elevation Satellite-2 (ICESat-2) ทำหน้าที่สังเกตการณ์ความสูงของแผ่นน้ำแข็งและธารน้ำแข็ง

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

หิมะสีชมพูบนเทือกเขาแอลป์ส่งสัญญาณอะไรเรื่องโลกร้อน

ค้นหา
Custom Search

นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาปรากฏการณ์ "หิมะสีชมพู" บริเวณธารน้ำแข็งเปรเซนา (Presena glacier) ที่เทือกเขาแอลป์ในเขตประเทศอิตาลี

ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจากสาหร่ายชนิดหนึ่งที่ชื่อ Chlamydomonas nivalis ซึ่งพบในเกาะกรีนแลนด์ รวมทั้งทุ่งหิมะในเทือกเขาแอลป์ และแถบขั้วโลก

เม็ดสีที่ออกเฉดสีแดงของสาหร่ายชนิดนี้ทำให้หิมะมีสีออกชมพูไปจนถึงสีแดง จึงทำให้ปรากฏการณ์นี้มีชื่อเรียกต่าง ๆ เช่น หิมะแตงโม (watermelon snow) หิมะสีชมพู (pink snow) หิมะสีแดง (red snow) หรือแม้แต่ หิมะเลือด (blood snow)

แม้จะเป็นปรากฏการณ์ที่สวยงามแปลกตา แต่บรรดานักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า หิมะและน้ำแข็งสีชมพูนี้ไม่ใช่เรื่องดีสำหรับปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


สาหร่ายยิ่งเพิ่ม โลกยิ่งร้อนขึ้น ตามปกติ หิมะและน้ำแข็งจะสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์กลับขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศได้กว่า 80% แต่การที่หิมะและน้ำแข็งมีสีเข้มขึ้นจากสาหร่ายชนิดนี้ ทำให้สูญเสียความสามารถในการสะท้อนความร้อนออกไป และขณะเดียวกันก็ดูดซับความร้อนเอาไว้มากขึ้นจนทำให้ธารน้ำแข็งเริ่มละลายเร็วขึ้น ยิ่งน้ำแข็งละลายมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายมากขึ้นเท่านั้น จนกลายเป็นวัฏจักรที่เป็นอันตรายต่อสภาพภูมิอากาศโลก


ดร.บิอาโจ ดิ เมาโร จากสภาวิจัยแห่งชาติของอิตาลี ผู้ศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้กล่าวว่า "ทุกอย่างที่ทำให้หิมะสีเข้มขึ้นจะทำให้หิมะละลาย เพราะมันไปเร่งการดูดซับรังสีดวงอาทิตย์"

ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ทำขึ้นเมื่อปีที่แล้วเตือนว่า ราวครึ่งหนึ่งของธารน้ำแข็ง 4,000 แห่งในแถบเทือกเขาแอลป์จะละลายหายไปภายในระยะเวลา 30 ปีข้างหน้า อันเป็นผลมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก และราว 2 ใน 3 ของธารน้ำแข็งในแถบนี้จะหายไปภายในปี 2100

รายงานเมื่อปี 2018 ขององค์การสหประชาติ ระบุว่า โลกกำลังมุ่งสู่ภาวะที่อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2030 - 2052 หากอุณหภูมิโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่เป็นอยู่ในปัจจุบันต่อไป และอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 3 องศาเซลเซียส ภายในช่วงสิ้นสุดศตวรรษนี้ 
เมื่ออุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส ก็จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือละลายหายไปในฤดูร้อน อย่างน้อย 1 ครั้งในทุก 10 ปี ซึ่งนี่จะทำให้สัตว์และพืชจำนวนมากต้องสูญพันธุ์เพราะถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมันเล็กลงไปทุกขณะ

เชื่อหรือไม เมื่อพันปีที่แล้ว กรุงเทพ และ 6 จังหวัดภาคกลางเคยอยู่ใต้ทะเลมาก่อน


ค้นหา
Custom Search
เมื่อพันปีที่แล้ว กรุงเทพ และอีก6จังหวัดภาคกลางเคยอยู่ใต้ทะเลมาก่อน

เชื่อหรือไม่ เมื่อ 1,000 ปีก่อน กรุงเทพ อยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เคยจมอยู่ใต้ทะเลมาก่อน.....

เมื่อ 1000 ปีก่อน โลกอยู่ในช่วงอบอุ่นมากช่วงหนึ่ง ทำให้น้ำแข็งจำนวนมาก ละลายออกจากขั้วโลก แม้แต่เกาะกรีนแลนด์แดนน้ำแข็งทุกวันนี้ ในขณะนั้นก็กลายเป็นเขตอบอุ่นจนชาวไวกิ้งเข้าไปตั้งรกรากทำการเกษตรปลูกพืชเมืองร้อนได้ 

เราเรียกช่วงเวลาที่โลกร้อนในช่วงนี้ ว่าช่วง  Medieval Warm Period ผลจากการละลายของน้ำแข็งในช่วงนี้ ทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นสูง และนั่นคือเหตุผลของการที่หลายจังหวัดในภาคกลางตอนล่างของไทย (ขณะนั้นยังไม่มีเมืองไทยปรากฏขึ้นบนโลก) จมอยู่ใต้ระดับน้ำทะเล

ภาพแผนที่อ่าวไทยโบราณ แบบที่ 1
ช่วงที่โลกร้อนในสมัย Medieval Warm Period ตรงกับสมัยทวารวดี  นั่นคือก่อนจะมีการก่อตั้งกรุงสุโขทัยนั่นเอง ทะเลอ่าวไทยยุคนั้น มีขอบเขตกว้างขวางกว่าปัจจุบันมาก ดังนี้ทิศเหนือ ทะเลสูงขึ้นไปถึงบริเวณ จ.ลพบุรี หรือเหนือขึ้นไปอีก

ทิศตะวันตก ทะเลเว้าเข้าไปถึงบริเวณ อ.เมือง และ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ต่ำลงมาที่ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ต่ำลงมาที่ อ.เมือง จ.ราชบุรี และต่ำลงมาที่ อ.เมือง จ.เพชรบุรี

ทิศตะวันออก ทะเลเว้าเข้าไปถึงบริเวณ จ.สระบุรี จ.นครนายก จ.ปราจีนบุรี และเว้าไปถึง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
ภาพถ่ายทางอากาศ (จำลอง) ทะเลอ่าวไทยเมื่อหลายพันปีก่อน

ภาพแผนที่อ่าวไทยโบราณ แบบที่ 2
และแม่น้ำสายสำคัญๆ ที่เรารู้จัก ก็มีขนาดสั้นกว่าปัจจุบันมาก ปากแม่น้ำหลายสาย จะมีตำแหน่งไหลลงทะเลสั้นกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ 
โดยปากน้ำเจ้าพระยา อยู่บริเวณ จ.นครสวรรค์-ชัยนาท
ปากน้ำแม่กลอง อยู่ทาง จ.นครปฐม 
(แม่น้ำท่าจีนยังไม่มี)ปากน้ำบางปะกง อยู่ทาง จ.นครนายก-ปราจีนบุรีปากน้ำป่าสัก อยู่ทาง จ.ลพบุรี เป็นต้น

ต่อมาโลกเริ่มเย็นลงจนเข้าสู่ช่วงยุคน้ำแข็งย่อย หรือ Little Ice Age น้ำทะเลเริ่มจับตัวเป็นน้ำแข็งตามขั้วโลก กรีนแลนด์หมดสภาพอบอุ่น และกลายเป็นเกาะน้ำแข็ง ชาวไวกิ้งทิ้งถิ่นฐานออกมา ระดับน้ำทะเลทั่งโลกเริ่มลดลง ประกอบกับการทับถมของตะกอนแม่น้ำหลายร้อยปี ทำให้จังหวัดต่างๆในภาคกลางตอนล่างปัจจุบัน เริ่มโผล่ขึ้นเหนือระดับน้ำทะเล ตรงกับยุคกรุงสุโขทัย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรไทย (สมัยราชวงศ์ซ้องของจีน)

ต่อมาหลัง พ.ศ.1600 มีบ้านเมืองและรัฐรุ่นใหม่เติบโตขึ้นโดยรอบอ่าวไทย โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น รัฐอโยธยาศรีรามเทพ (ที่ต่อมาเป็นกรุงศรีอยุธยา) ซึ่งตั้งอยู่ตอนบนของอ่าวไทยเหนือกรุงเทพฯ ขึ้นไป และทางน้ำกว้างใหญ่ผ่านบริเวณกรุงเทพฯ (ที่ต่อไปอีกนานมากจะได้ชื่อว่าเจ้าพระยา) ไหลคดเคี้ยวเป็นรูปโค้งเกือกม้า (Oxbow Lake) นับเป็นแม่น้ำเก่าแก่ดั้งเดิมของกรุงเทพฯ

มีคนพื้นเมืองตั้งหลักแหล่งบ้านเรือนอยู่ที่ดอนชายเลนบ้างแล้ว เช่น พวกพูดภาษาตระกูลมาเลย์-จาม กับชวา-มลายู จนถึงตระกูลมอญ-เขมร กับลาว-ไทย

ในปัจจุบัน โลกกลับเข้าสู่ช่วงอบอุ่นอีกครั้ง และความร้อนพุ่งทะยานเร็วขึ้นจากสภาพเรือนกระจกที่เกิดจากแก้สต่างๆเช่นมีเทน ไอน้ำ คาร์บอนในรูปแบบต่างๆ ทำให้เกิดการละลายของน้ำแข็งจากขั้วโลกและธารน้ำแข็งหรือหิ้งน้ำแข็ง รวมทั้งยอดเขาน้ำแข็งต่างๆอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอัตรา  3.2 ± 0.4 มิลลิเมตร/ปี

จากสภาพการเพิ่มขึ้นของน้ำทะเลในลักษณะนี้ จึงหลีกเลี่ยงได้ยาก ที่วัฏจักรเดิมจะกลับมาอีกครั้ง นั่นคือการกลับลงสู่ใต้ทะเลของหลายเมืองริมชายฝั่งทั่วโลก รวมทั้งภาคกลางตอนล่างของไทย เช่นที่บ้านขุนสมุทรจีน สมุทรปราการ ซึ่งจมลงทะเลไปแล้วทั้งหมู่บ้าน โดยมีการใช้คำว่าาการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อเรียกภัยพิบัติชนิดนี้ โดยเฉลี่ยแล้ว อัตราการกัดเซาะรุนแรงในอ่าวไทย คือเฉลี่ยมากกว่า 5.0 เมตรต่อปี (ถือเป็นพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เร่งด่วน) เกิดขึ้นในพื้นที่ชายฝั่งระยะทางรวม 180.9 กิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 10.9 ของแนวชายฝั่ง ทั้งนี้ชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จนถึงปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวและเกิดการกัดเซาะที่รุนแรงที่สุด โดยบางพื้นที่มีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่า 25 เมตรต่อปี

โดยเฉพาะตัวเมืองกรุงเทพมหานคร การศึกษาพบว่า มีการจมลงของตัวเมืองเร็วกว่าปกติอีกด้วย เนื่องจากมีการสูบน้ำใต้ดินจำนวนมหาศาลออกมาเพื่อใช้งานในช่วงหลายสิบปีที่่ผ่านมา เมื่อไม่มีแรงดันน้ำใต้ดิน น้ำหนักตัวเมืองที่มีอาคารสิ่งก่อสร้างมากมายมหาศาล ก็กดทับลงประกอบกับตามที่เราทราบมาข้างต้นว่าใต้กรุงเทพเคยเป็นทะเลโคลนตมมาก่อน ยิ่งทำให้อัตราการจมลงของตัวเมืองหลวงแห่งนี้มีมากขึ้นทุกที 
จากการศึกษาพบว่า ภายในปี 2050 กรุงเทพมหานครจะเริ่มประสบปัญหาน้ำทะเลสูงจนรับมือไม่ไหว ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องรีบวางแผนหาทางแก้ไขโดยเร็วตั้งแต่วันนี้

เชื่อหรือไม่เมื่อ 50 ปีก่อน หิมะเคยตกที่เมืองไทยมาแล้ว

😀เชื่อหรือไม่? เมื่อ 50 ปีก่อน หิมะเคยตกที่เมืองไทยมาแล้ว
ค้นหา
Custom Search
ภาพบน - ถ่ายในวันรุ่งขึ้น
หลังหิมะตก 14 ชั่วโมง ที่เห็นเป็นพื้นขาวคือ หิมะอีก 38 ชั่วโมงต่อมา จึงค่อยละลายหมดไป 
8 ตุลาคม 2555
เมื่อเวลา 10.00 น.  นายวรพจน์ คุณาวิวัฒนางกูร เวรพยากรณ์อากาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ เปิดเผยว่าความกดอากาศสูงจากประเทศจีนปกคลุมภาคเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือมีปริมาณและการกระจายของฝนลดลงและอุณหภูมิ จะลดต่ำลง 1-2 องศา โดยอุณหภูมิต่ำสุดเช้านี้วัดได้ 9.5 องศา ส่วนตัวเมืองเชียงใหม่วัดได้ 16.8 องศา

นายวรพจน์ กล่าวต่อว่าสำหรับที่มีการคาดการณ์ว่าในปีนี้จะหนาวเย็นและหนาวนานกว่าทุกปี และมีโอกาสเกิดหิมะตกในจ.เชียงรายและเชียงใหม่นั้น ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือได้มีการวิเคราะห์สภาพอากาศปีนี้อากาศ เย็นจากประเทศจีนเคลื่อนตัวมาไวกว่าทุกปี อุณหภูมิจะลดต่ำลงในทุกจังหวัดทั่วภาคเหนือ และจะหนาวหนักในเดือนธ.ค.และปีนี้จะเกิดปรากฏการณ์น้ำค้างแข็งหรือเหมยขาบ ขึ้นตามยอดดอยทั่วไปแบบยาวนานกว่าทุกปี

ส่วนการเกิดหิมะตก นั้นมีความเป็นไปได้เพราะประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2498 และปีพ.ศ.2501 เคยเกิดหิมะตกที่ จ.เชียงราย มาแล้วแต่ต้องมีเงื่อนไขคือต้องมีเมฆผลึกน้ำแข็ง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของผลึกหิมะ และเมฆนั้นต้องอยู่ในระดับต่ำใกล้ชิดกับพื้นดินด้วยหรือระดับเยือกแข็ง ต้องอยู่ในระยะห่างพื้น ดินไม่เกิน 300 เมตร รวมถึงอุณหภูมิอากาศเหนือพื้นดิน ต้องต่ำเข้าใกล้ 0 องศาเซลเซียสแบบต่อเนื่อง แม้ประเทศไทยจะอยู่ในเขตโซนร้อน แต่ประเทศแอฟริกาที่อยู่ในเส้นศูนย์สูตร ก็สามารถเกิดหิมะตกได้ แต่ต้องรอดูสภาพอากาศในช่วงเดือนพฤจิกายน ธันวาคม และมกราคม แบบใกล้ชิดและอาจจะเกิดหิมะตกตามยอดดอยอินทนนท์ ดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่ก็เป็นได้

9 ตุลาคม 2555
 (ข้อมูลจากmatichon.co.th)
ภายหลังจากที่ นายวรพจน์ คุณาวิวัฒนางกูร เวรพยากรณ์อากาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ    ระบุมีความเป็นไปได้ว่า  บนยอดดอยของจ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย
มีโอกาสที่จะเห็นหิมะตก
เนื่องจาก ฤดูหนาวปีนี้ภาคเหนือจะมีอากาศเย็นมากกว่าปกติ และหนาวนานกว่าทุกปี โดยเฉพาะในเดือนธันวาคมที่จะมีอากาศหนาวที่สุดนั้น

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม   รองศาสตราจารย์เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต   เปิดเผยว่า  ขณะนี้ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ปรากฎการณ์เอลนินโญ่  หรือ ปรากฎการณ์ที่อุณหภูมิน้ำทะเลรอบประเทศไทยสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้สภาพอากาศร้อนและแล้ง    โดยหน่วยงานวิจัยของญี่ปุ่น คาดการณ์อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเล ในช่วง 3 เดือนจากนี้ไป พื้นผิวน้ำทะเลรอบประเทศไทยจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น และเมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้น ก็จะส่งผลให้อากาศร้อนขึ้นตามไปด้วย และคาดการณ์อุณหภูมิพื้นดิน ในส่วนของประเทศไทยเป็นสีแดงหมายถึงอุณหภูมิจะร้อนขึ้นกว่าค่าเฉลี่ย ในช่วงฤดูหนาวนี้

ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศฯ กล่าวต่อว่า    ขณะที่ APEC CLIMATE CENTER ที่เป็นศูนย์ศึกษาภูมิอากาศของภูมิภาคเอเซีย ที่ตั้งอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้ คาดการณ์ว่า อุณหภูมิพื้นดินของประเทศไทย ในช่วงฤดูหนาวนี้ แทนค่าด้วยสีแดง หมายถึงอุณหภูมิจะร้อนขึ้นกว่าค่าเฉลี่ย
เช่นเดียวกับนายสมชาย ใบม่วง รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา  ที่กล่าวยืนยันว่า   เป็นไปได้ยากมากที่จะเกิดหิมะตกที่จังหวัดเชียงราย ตามข่าวที่ออกมาก่อนหน้านี้ เพราะประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นของโลก

ภาพหิมะตกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2498 และปี พ.ศ.2501 
ที่ จ.เชียงราย
นี่เป็นภาพถ่ายในฤดูหนาวที่จังหวัดเชียงรายเมื่อ พ.ศ.2498 วันนั้นเป็นวันที่ 7 มกราคม เวลา 18.00 น.เศษ หลังจากฝนตกเล็กน้อย ลูกเห็บขนาดเล็กและเกล็ดน้ำแข็งบาง ๆ สีขาว ๆ คล้ายปุยหิมะก็ตกลงมาอย่างมากมายดูขาวโพลนไปทั่วแผ่นดิน
ภาพหิมะตกที่เชียงราย พ.ศ. 2498
ภาพหิมะตกที่เชียงแสน พ.ศ. 2501
ส่วนปีนี้ หรือ เร็วๆ นี้ ก็รอลุ้นกันนะคะ ว่าหิมะจะตกที่เมืองไทยหรือเปล่า?

รายการบล็อกของฉัน