ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2565

นักวิจัยค้นพบแม่น้ำ ใต้ทวีปแอนตาร์กติกที่เต็มไปด้วย ‘สัตว์คล้ายกุ้ง’ลึกลับมากมาย

นักวิจัยค้นพบแม่น้ำ ใต้ทวีปแอนตาร์กติกที่เต็มไปด้วย ‘สัตว์คล้ายกุ้ง’ลึกลับมากมาย

ใต้ทวีปแอนตาร์กติก นักวิจัยค้นพบแม่น้ำที่เต็มไปด้วย ‘สัตว์คล้ายกุ้ง’

หลายคนอาจไม่รู้ว่า "แอนตาร์กติก (ขั้วโลกใต้)" ต่างจาก "อาร์กติก (ขั้วโลกเหนือ)" มาก แม้ว่ามันจะเหมือนเป็นพี่น้องกัน อย่างแรกเลยแอนตาร์กติกายากที่

จะสำรวจ อย่างที่สองคือหนาวเย็นกว่ามาก และแอนตาร์กติกาก็มีน้ำแข็งมากกว่าอาร์กติกมากมายมหาศาล ด้วยเหตุนี้การจะเจาะรูเพื่อหาอะไรใต้แอนตาร์กติกาจึงยากสุดๆ

นักวิจัยแอนตาร์กติกได้เปิดประตูสู่โลกของสัตว์จำพวกครัสเตเชียนตัวเล็กๆ ที่เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ในบริเวณปากแม่น้ำซึ่งอยู่ต่ำกว่าหิ้งน้ำแข็งรอสส์ (Ross Ice Shelf) ประมาณ 1,600 ฟุต (487 เมตร) โดยหิ้งน้ำแข็งรอสส์ถือเป็นหิ้งที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอนตาร์กติก

นักวิจัยชาวนิวซีแลนด์ร่วมกับสถาบันวิจัยน้ำและบรรยากาศแห่งชาติ (National Institute of Water and Atmospheric Research) ได้ละลายผ่านหิ้งน้ำแข็งด้วยท่อน้ำร้อน จนกระทั่งพวกเขาค้นพบแม่น้ำใต้น้ำแข็งที่มีความยาวถึง 6.5 ไมล์ กว้างประมาณ 274 เมตร และลึกราวๆ 244 เมตร

ข้างล่างนั้นมืดสนิท อยู่ไกลเกินกว่าที่แสงแดดจะส่องถึงและเย็นมากด้วย มันดูเหมือนไม่ใช่จุดที่เหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิตจริงๆ แต่เมื่อนักวิจัยส่งอุปกรณ์บันทึกลงไป พวกเขาก็ต้องประหลาดใจ เมื่อพบว่าแม่น้ำแห่งนี้เต็มไปด้วยสัตว์จำพวกแอมฟิพอด ที่มีลักษณะเหมือนกุ้งกระจัดกระจายไปทั่ว

การมีสัตว์เหล่านี้ว่ายอยู่รอบๆ กล้องของเรา มันหมายความว่ามีกระบวนการทางระบบนิเวศที่สำคัญเกิดขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งเราจะทำการวิจัยเพิ่มเติมโดยการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำเพื่อทดสอบสิ่งต่างๆ เช่น สารอาหาร

โลกใต้แอนตาร์กติกยังคงเป็นสถานที่ลึกลับ เพราะการเข้าถึงแม่น้ำที่อยู่ใต้น้ำแข็งหรือหิ้งน้ำนั้นยากเป็นพิเศษ คุณต้องต่อสู้กับสภาพอากาศและเจาะหรือละลายน้ำแข็งหนาๆ เพื่อส่งโดรนหรืออุปกรณ์กล้องลงไป

มันเป็นสาเหตุที่เรือ Endurance อันโด่งดังของเออร์เนสต์ แช็คเคิลตัน สูญหายไปเป็นเวลากว่าศตวรรษ เพราะมันยากมากที่จะเดินทางไปยังโลกเหล่านี้ภายใต้น้ำแข็ง แต่เมื่อคุณทะลวงผ่านอุปสรรคไปได้ การค้นพบใหม่ๆ ตื่นเต้นและน่าค้นหารออยู่

ข้อมูลเพิ่มเติม

NASA scientists drilling into the thick ice of Antarctica's Ross Ice Shelf in November 2009 were surprised to spot a small shrimp-like creature 600 feet beneath the West Antarctic ice sheet.

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2565

นักวิทยาศาสตร์ พบระบบน้ำบาดาลขนาดยักษ์ใต้แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก


นักวิทยาศาสตร์ พบระบบน้ำบาดาลขนาดยักษ์ใต้แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก
    
พบระบบน้ำบาดาลขนาดยักษ์ใต้แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก คาดเกิดขึ้นราว 5,000-7,000 ปีที่แล้ว 
ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่ามีแหล่งเก็บน้ำใต้ดินอยู่ใต้แผ่นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติก ด้วยเหตุผลที่ว่าน้ำนั้นช่วยสร้างความลื่นไหลให้กับฐานกรวดและสร้างการเคลื่อนที่ของฐานน้ำแข็งให้ไหลไปยังทะเล แต่ยังไม่มีใครพบหลักฐานที่ยืนยันจนการสำรวจล่าสุดที่เพิ่งเผยแพร่ในวารสาร Science ได้ยืนยันถึงการมีอยู่ของระบบน้ำบาดาลนี้


ทีมวิจัยที่นำโดยโคลอี้ กุสตาฟซัน (Chole Gustafson) จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียได้ทำแแผนที่ระบบน้ำเค็มบาดาลขนาดยักษ์ที่หมุนเวียนอย่างทรงพลังลึกลงไปใต้ฐานแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกด้านตะวันออกเป็นครั้งแรก และเชื่อว่ามันอาจมีอยู่ทั่วไปในทวีปนี้ แต่ยังไม่ชัดเจนว่ามันมีอิทธิพลมากน้อยเพียงใดต่อแผ่นหรือธารน้ำแข็ง และมีปฎิกิริยาอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


“ผู้คนตั้งสมมติฐานว่าอาจมีน้ำใต้ดินลึกลงไปในตะกอนเหล่านี้ แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่มีใครทำแผ่นที่มันได้อย่างละเอียด” กุสตาฟซันกล่าว “ปริมาณน้ำใต้ดินที่เราพบนั้นมีนัยสำคัญ ซึ่งน่าจะส่งผลต่อกระบวนการของกระแส (ธาร) น้ำแข็ง ตอนนี้เราต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมและหาวิธีรวมสิ่งนั้นเข้ากับแบบจำลอง”

ทีมวิจัยได้โฟกัสไปยังธารน้ำแข็งที่มีชื่อว่า “Whillans” ซึ่งมีความกว้างราว 96 กิโลเมตร พวกเขาใช้เทคนิคใหม่ที่เรียกว่าการถ่ายภาพด้วยเคลื่อนแม่เหล็ก (Magnetotelluric Imaging) ซึ่งเป็นการวัดระดับความแตกต่างของพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าที่น้ำแข็ง ตะกอน น้ำจืด และน้ำเค็มแสดงออกต่างกัน โดยกุสตาฟซันอธิบายไว้ว่า “เหมือนกับการทำ MRI ของโลก” 

ทำให้พวกเขาสามารถสร้างแผ่นที่ระบบน้ำเค็มบาดาลได้อย่างชัดเจน ซึ่งอยู่ด้านล่างลึกลงไปจากฐานของน้ำแข็งราวครึ่งกิโลเมตรจนถึงเกือบ 2 กิโลเมตร และยืนยันว่ามันเต็มไปด้วยของเหลวตลอดทางซึ่งมีขนาดเท่ากับ “ฐานตึกเอ็มไพร์สเตทไปจนถึงเสาอากาศสูงสุดประมาณ 420 เมตร” กุสตาฟซันกล่าว

ทีมงานตั้งสมมติฐานถึงการมีอยู่ของน้ำเค็มในแหล่งปิดผนึกใต้ฐานแผ่นน้ำแข็งนี้ว่า น้ำจากมหาสมุทรน่าจะไหลเข้าสู่ระบบบาดาลเมื่อราว 5,000 ถึง 7,000 ปีที่แล้วในช่วงที่เวลาอบอุ่น จากนั้นเมื่ออุณหภูมิลดลงแผ่นน้ำแข็งหนาที่ปรากฎขึ้นใหมาได้ปิดผนึกเส้นทางกลายเป็นอย่างปัจจุบัน อย่างไรก็ตามคำว่าปิดผนึกนี้ อาจไม่ได้ถูกปิดสนิดร้อยเปอร์เซ็นต์


เมื่อธารน้ำแข็งเคลื่อนตัว อาจมีน้ำจืดที่ละลายไหลแทรกซึมผ่านตะกอนเข้าไปยังระบบน้ำเค็มบาดาลนี้ หรือบางทีเมื่ออากาศอบอุ่นขึ้น ความกดดันที่อยู่เหนือพื้นลดลง น้ำเค็มบาดาลอาจไหลขึ้นสู่ฐานน้ำแข็งได้เช่นกัน สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลอย่างแน่นอนต่อการเคลื่อนที่ของธารน้ำแข็ง แต่ทีมวิจัยยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีอิทธิพลมากน้อยเพียงใด หรือผลกระทบจากสภาพอากาศเปลี่ยนจะมีอิทธิพลต่อมันแค่ไหน ยังคงเป็นคำถามที่ต้องหาคำตอบต่อไป


“การยืนยันการมีอยู่ของพลวัตน้ำใต้ดินนี้ได้เปลี่ยนความเข้าใจของเราเกี่ยวกับพฤติกรรมของกระแสน้ำแข็ง และยังมีเรื่องที่เราจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างน้ำบาดาลกับแผ่นน้ำแข็งที่เหลืออีกมาก ก่อนที่เราจะสามารถระบุได้อย่างเป็นรูปธรรมถึงการเปลี่ยนแปลงในทวีปแอนตาร์กติกนี้” ทีมวิจัยกล่าวในรายงาน

รายการบล็อกของฉัน