ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

ผลวิจัยใหม่ชี้ช่องโหว่ชั้นโอโซนที่ขั้วโลกใต้เริ่มหดเล็กลง


ศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะแห่งชาติสหรัฐ 
(เอ็นเอสไอดีซี) เปิดเผยว่า พื้นที่ของแผ่นน้ำแข็งที่มหาสมุทรอาร์กติกหรือที่ขั้วโลกเหนือ
เมื่อวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา มีขนาดหดเหลือ 4.14 ล้านตารางกิโลเมตร เทียบเท่ากับเดือนเดียวกันของปี 2551 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำเป็นอันดับสองนับจากที่เคยมีการวัดด้วยดาวเทียม 

ยิ่งกว่านั้นความเร็วของการหดในช่วงปลายเดือนสิงหาคมจนถึงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าช่วงเดียวกันของปี 2555 ซึ่งเป็นปีที่พื้นที่ของแผ่นน้ำแข็งอาร์กติกลดต่ำที่สุดอีกด้วย

ปกติแผ่นน้ำแข็งที่อาร์กติกจะแผ่ขยายและหดลงตามฤดูกาล โดยจะแผ่กว้างที่สุดในฤดูหนาวและหดเล็กที่สุดในฤดูร้อน โดยจะต่ำสุดในเดือนกันยายนของทุกปี จากสถิติที่บันทึกไว้โดยเอ็นเอสไอดีซีพบว่า ระดับต่ำสุดเฉลี่ยช่วงปี 2522-2543 อยู่ที่ประมาณ 6.7 ล้านตารางกิโลเมตร แต่ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา พื้นที่ของแผ่นน้ำแข็งอาร์กติกในช่วงต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 4-5 ล้านตารางกิโลเมตร โดยในปี 2555 พื้นที่แผ่นน้ำแข็งหดลงเหลือเพียง 3.39 ล้านตารางกิโลเมตรเท่านั้น

เรื่องสิ่งแวดล้อมใช่ว่าจะมีแต่ข่าวร้ายเสมอไป บางครั้งเรื่องดี ๆ ก็เกิดขึ้นได้เหมือนกัน เช่น ข่าวจากอีกขั้วหนึ่งของโลก นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานที่ชัดเจนว่ารูโหว่ของชั้นโอโซนที่ทวีปแอนตาร์กติกาเริ่มหดเล็กลงแล้ว

ชั้นโอโซนของบรรยากาศโลกมีบทบาทสำคัญในการดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตที่อันตรายจากดวงอาทิตย์ แต่ในปี 2528 นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าชั้นโอโซนนี้มีรูโหว่ขนาดมหึมาขึ้นที่ขั้วโลกใต้ และรูโหว่นี้ก็ค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้นทุกปี นั่นเป็นเรื่องน่าสะพรึงกลัว เพราะจะส่งผลเสียต่อระบบนิเวศทั้งโลก สาเหตุสำคัญของการเกิดรูโหว่คือการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือซีเอฟซีอย่างแพร่หลาย

การที่รูโหว่ของชั้นโอโซนเริ่มเปลี่ยนไปทางที่ดีขึ้นในช่วงหลังนี้เชื่อว่าเป็นผลจากการห้ามใช้สารซีเอฟซีอย่างเข้มงวดที่ดำเนินมาหลายปี ดังจะเห็นว่ารูโหว่ในปี 2557 มีขนาดเล็กลงกว่าในปี 2543 ถึง 10 ล้านตารางกิโลเมตร
นักวิทยาศาสตร์คาดว่า หากแนวโน้มยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป รูโหว่ของชั้นโอโซนนี้จะปิดได้สนิทก่อน พ.ศ. 2603

น้ำแข็งที่ปกคลุมบริเวณ2ขั้วโลกหดเล็กลงเหลือน้อยสุดเป็นประวัติการณ์


นักวิทย์ชี้น้ำแข็งที่ปกคลุมบริเวณ2ขั้วโลกหดเล็กลงเหลือน้อยสุดเป็นประวัติการณ์

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะแห่งชาติ 
(เอ็นเอสไอดีซี) ในสังกัดองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ของสหรัฐอเมริกาแถลงที่เมืองไมอามี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ระบุว่า พื้นที่ซึ่งปกคลุมด้วยน้ำแข็งและหิมะอยู่ชั่วนาตาปีบริเวณขั้วเหนือและขั้วใต้ของโลก หดเล็กลงเหลือพื้นที่น้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์แล้ว

ทั้งนี้แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกจะเปลี่ยนขนาดไปตามฤดูกาลโดยช่วงต้นเดือนมีนาคมจะมีขนาดใหญ่ที่สุดก่อนที่่จะลดลงเหลือพื้นที่ต่ำสุดในราวเดือนกันยายนที่เป็นหน้าร้อนของขั้วโลก แต่แผ่นน้ำแข็งทวีปอาร์คติกที่ปกคลุมขั้วเหนือวัดเมื่อเดือนมีนาคมหลงเหลือเพียง 14.42 ล้านตารางกิโลเมตร น้อยกว่าสถิติน้อยที่สุดเดิมในปี 2558 ถึง 471,000 ตารางกิโลเมตร 

ส่วนแผ่นน้ำแข็งที่แอนตาร์คติกที่ปกคลุมขั้วใต้ในเดือนมีนาคมก็ทำสถิติเหลือพื้นที่เล็กที่สุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 38 ปีนับตั้งแต่มีการเก็บสถิติ ปรากฏการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดความกังวลสูงขึ้นอีกว่าภาวะโลกร้อนกำลังเร่งความเร็วและทวีความรุนแรงมากขึ้นนั่นเอง

วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

ภาพเปรียบเทียบ 100 ปีของขั้วโลกเหนือ


ขั้วโลกน้ำแข็งละลาย ภาพเปรียบเทียบ 100 ปีของขั้วโลกเหนือ ที่จะทำให้หน้าร้อนนี้
น่ากลัวกว่าเดิม!      
boredpanda นำภาพผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อนของ Christian Åslund มาเผยให้เราได้เห็นถึงปัญหาอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น จะน่ากลัวราวกับโลกละลายแค่ไหน..มาดูกัน

อย่างที่เราเริ่มตระหนักกันว่า เดี๋ยวนี้หน้าร้อนมันร้อนขึ้นๆ หน้าหนาวสั้นลงๆ จนหลายคนเริ่มเข้าใจแล้วว่า ปัญหาภาวะโลกร้อน ไม่ได้มาเล่นๆ!!
    
แต่เพื่อให้เห็นภาพว่าโลกละลายนั้นเป็นยังไง ช่างภาพข่าวชาวสวีเดน Christian Åslund เลยได้รวบรวมภาพของธารน้ำแข็งในช่วงราวๆ 100 ปีก่อนมา

มันเป็นธารน้ำแข็งในสวาลบาร์ด ประเทศนอร์เวย์
ซึ่งเขาเลือกตำแหน่งต่างๆในภาพมาถ่ายใหม่ (โดยถ่ายในปี ค.ศ. 2002) เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของปริมาณน้ำแข็ง

รายการบล็อกของฉัน