ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2557

อะไรคือ แม่คะนิ้ง และ แม่คะนิ้ง เกิดขึ้นได้อย่างไร?

อะไรคือ แม่คะนิ้ง และ แม่คะนิ้ง เกิดขึ้นได้อย่างไร
ฤดูหนาวในบ้านเราที่ช่วงต้นฤดู ในกรุงเทพฯอากาศค่อนข้างร้อน แต่เผลอแผล็บเดียว อากาศกลับตาลปัตรมาหนาวมั่กๆ ส่งผลให้ทางเหนือและอีสาน อากาศหนาวเย็นยะเยือกจนเกิดปรากฏการณ์น้ำค้างแข็งขึ้นหรือแม่คะนิ้งในหลายพื้นที่
           
สำหรับ น้ำค้างแข็ง หรือ “แม่คะนิ้ง”ในภาษาอีสาน และ“เหมยขาบ”ในภาษาพื้นเมืองเหนือ จะเกิดขึ้นจากไอน้ำในอากาศที่ใกล้ๆกับพื้นผิวดินลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดน้ำค้าง จากนั้นก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ โดยอุณหภูมิยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงจุดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง น้ำค้างก็จะเกิดการแข็งตัวกลายเป็นน้ำค้างแข็ง เกาะอวดโฉมตามยอดไม้ใบหญ้า
           
ทั้งนี้การเกิดแม่คะนิ้ง ไม่ใช่พอหนาวแล้วก็จะเกิดกันได้ง่ายๆ แต่แม่คะนิ้งจะเกิดก็ต่อเมื่อมีอากาศหนาวจัดจนน้ำค้างยอดหญ้าหรือยอดไม้แข็งตัว ในอุณหภูมิประมาณศูนย์องศาเซลเซียสหรือติดลบเล็กน้อย
              
อนึ่งการเกิดแม่คะนิ้งนี้ มันอาจจะน่าสนใจสำหรับใครหลายๆคน เพราะว่ามันช่างแสดงถึงความหนาวเย็น เป็นเกล็ด ดูน่ามอง แต่ว่าจริงๆแล้ว การเกิดแม่คะนิ้งถือว่าสร้างความเสียหายให้แก่ พืชผักต่างๆเป็นจำนวนมาก โดยจะทำให้ข้าวที่กำลังออกรวงมีเมล็ดลีบ ส่วนพืชไร่ก็จะชะงักการเจริญเติบโต พืชผักก็จะมีใบหงิกงอ ไหม้เกรียม ส่วน ผลไม้อย่างกล้วย ทุเรียน มะพร้าวก็จะมีใบแห้ง และร่วงลงในที่สุด ซึ่งหากแม่คะนิ้งเกิดติดต่อกันยาวนาน ถือว่าชาวนา ชาวไร่ ชาวสวนเดือดร้อนแน่นอน
ใครที่อยากชมแม่คะนิ้ง ในเมืองไทยปีไหนที่หนาวมากๆ ก็สามารถลุยความหนาวขึ้นไปดูได้ตามยอดดอยในภาคเหนือ และภาคอีสาน เนื่องจากเป็นที่ที่มีอากาศเย็นจัด โดยที่มีคนเห็นกันบ่อยๆก็ที่ ดอยอินทนนท์ ดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่ และที่ ภูเรือ จ.เล            
หนาวนี้ใครที่อยากชมแม่คะนิ้งก็สามารถขึ้นเหนือหรือไปอีสานในบริเวณที่หนาวมากๆเพื่อรอลุ้นกับปรากฏการณ์แม่คะนิ้งกันได้ แต่ยังไงก็ต้องทำใจเอาไว้บ้าง ว่า บางทีอากาศอาจเปลี่ยนเป็นไม่หนาวเหมือนเดิมทำให้หมดลุ้นกับการรอชมแม่คะนิ้ง เพราะปีนี้...อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อ

แม่คะนิ้ง เป็นคำจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาพื้นเมืองทางภาคเหนือเรียกว่า เหมยขาบ คือผลึกน้ำแข็งที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ไอน้ำในอากาศใกล้ผิวดินลดอุณหภูมิลงถึงอุณหภูมิจุดน้ำค้าง แล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ต่อจากนั้นอุณหภูมิยังคงลดต่อไปอีก จนต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้น้ำค้างแข็งตัว กลายเป็นน้ำค้างแข็ง ซึ่งจะทำความเสียหายแก่พืชไร่และผักต่าง ๆ เช่น ข้าวที่กำลังออกรวงก็จะมีเมล็ดลีบ พืชไร่จะชะงักการเจริญเติบโต พืชผักใบจะหงิกงอ ไหม้เกรียม กล้วย มะพร้าวและทุเรียนใบจะแห้งร่วง ถ้าเกิดติดต่อกันหลายวัน ก็จะทำความเสียหายแก่พืชที่ปลูกได้มากขึ้น น้ำค้างแข็ง ในเมืองไทยสามารถพบเห็นได้ตามบริเวณยอดดอยในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอากาศหนาวจัด ส่วนมากจะเกิดในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคมครับ
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen

รายการบล็อกของฉัน