ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2563

ชลาคารวิหารลึกลับใต้พิภพที่อินเดีย


👉ชลาคารวิหารใต้พิภพอินเดีย
ค้นหา
Custom Search
มหาชลาคาร “จัน เบารี” ตัวอย่างคลาสสิคของชลาคารแบบสระ ขนาดน้องๆ สนามฟุตบอล ที่มานิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับมกราคม 2559

ในบรรรดาสิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์
แห่งอดีต มี “วิหารหิน” ของอินเดียประเภทหนึ่งที่เก่าแก่และโอ่อ่าตระการตาไม่น้อยไปกว่าปราสาทขอมและชวา แต่ในขณะที่ปราสาทหินแห่งอาเซียนได้กลายเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ วิหารหินแห่งชมพูทวีปเหล่านี้ยังคงซ่อนตัวเงียบ ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักพบเห็นแม้ในหมู่คนอินเดียเองเสียด้วยซ้ำ

ก็จะให้ประสบพบเจอได้ง่ายๆ อย่างไรเล่าครับ เพราะวิหารหิน
ที่เรียกว่า “ชลาคาร” เหล่านี้ต่างถูกสร้างขึ้นเพื่อให้จมอยู่ใต้ผืนพิภพ 
แต่ถ้าหากสามารถกลับหัวเอาความลึกขึ้นมาตั้งบนแผ่นดินได้ หลายแห่งจะมีขนาดสูงใหญ่เกินกว่าปราสาทหินพิมาย พนมรุ้ง หรือโบราณสถานจำนวนไม่น้อยในภูมิภาคอาเซียนของเรา....

👉อะไรคือ “ชลาคาร”
ชลาคาร คือวิหารหินขนาดน้อยใหญ่ พบได้ทั่วไปในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ตั้งแต่เมืองเดลีไล่เฉียงลงไปยังแคว้นราชสถานจนถึงแคว้นคุชราต ซึ่งพื้นที่สองแคว้นนี้มีชลาคารกระจุกตัวอยู่นับพันแห่ง

ความน่ามหัศจรรย์ของชลาคารซึ่งในภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “เบารี” หรือ “วาว” ก็คือ แทนที่ผู้สร้างจะก่อมันขึ้นจากพื้นดินให้สูงเสียดยอดทะลุฟ้า ก็กลับขุดคว้านผืนพิภพเป็นหลุมยักษ์ แล้วก่อเป็นอาคารมหึมาในหลุมหรือกรุหลุมให้เต็มด้วยหมู่อาคารที่ค่อยๆ ทิ้งช่วงชั้นต่างๆ 
ดิ่งลึกลงใต้ดิน จนชลาคารบางแห่ง
มีสภาพเหมือนเมืองที่จมอยู่ใต้พิภพบ่อน้ำลึกชั้นล่างสุดของวิหารใต้พิภพ ๕ ชั้น 

“ดาดา ฮารี นี วาว” 
(ภาพจาก คุณธีระพงษ์ วานิชานนท์)
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะชลาคาร 
(ชล + อาคาร) มีหน้าที่หลักเบื้องต้นเพื่อเป็น “วิหารเก็บกักน้ำ” ให้ชุมชนที่อยู่รอบๆ ได้มีไว้ใช้ตลอดปี ในแคว้นคุชราตและราชสถานซึ่งพบชลาคารเป็นจำนวนมากนั้น ภูมิประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะกึ่งแล้ง มีแม่น้ำน้อยสาย แต่จะมีฝนตกหนักเป็นช่วงสั้นๆ อยู่บ้างราวกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนสิงหาคม หรือปีละไม่เกิน ๓ เดือน ดังนั้น ผู้คนจึงต้องอาศัยการขุดหาตาน้ำและสร้างบ่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงกว่า ๙ เดือนที่เหลือของปี ต่อมาบ่อน้ำนี้ก็ได้พัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมใต้ดินซึ่งมีวัตถุประสงค์ทั้งในด้านการใช้สอย ด้านสังคม ด้านพิธีกรรม ไปจนถึงด้านสุนทรียะและสถาปัตยกรรมอันงามวิจิตรเทียบเท่าศาสนสถานหรือปราสาทหินโบราณตามที่ต่างๆ ที่เราพบเห็นกันบนพื้นดิน

ชลาคารแบบสระ “ฮาดี รานี” แคว้นราชสถาน ด้วยเหตุที่กลายมาเป็นสักการสถานนี้ จึงพบว่าชลาคารหลายแห่งถูกสร้างขึ้นด้วยหินคุณภาพดี มีการออกแบบที่สวยงามเป็นสัดส่วนช่วงชั้น มีการแกะสลักเสาคานและเครื่องค้ำยันอาคารต่างๆ เป็นลวดลายประณีตตระการตา มีรูปจำหลักเทพเจ้าไว้เพื่อสักการะ มีการสลักรูปสิงสาราสัตว์ พรรณพฤกษา และผู้คนประดับประดาวิจิตรเกลื่อนอยู่ทั่วไป ซึ่งหากมองดูจากภายในอาคารแล้ว ก็แทบไม่รู้เลยว่าโบราณสถานเหล่านี้ฝังตัวจมลึกอยู่ใต้ผืนดินหลายสิบเมตร

ชลาคารยุคต้นถูกสร้างขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ ๖-๗ หรือราว ๑,๓๐๐ ปีที่แล้ว โดยยุคทองที่มีการสร้างชลาคารอย่างแพร่หลายตกอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๙-๑๓ (ร่วมสมัยกับยุคเมืองพระนครของกัมพูชา และก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยของเราจะก่อตั้งขึ้น)

แรกเริ่ม ชลาคารถูกสร้างขึ้นภายใต้อิทธิพลของศาสนาฮินดู ต่อมาเมื่อราชวงศ์มุสลิมเข้าครองอำนาจในชมพูทวีป ก็ยังคงรักษาและพัฒนาชลาคารต่อไป อย่างน้อยก็ด้วยเห็นประโยชน์ด้านการเก็บรักษาและใช้สอยน้ำ อย่างไรก็ดี รูปแบบและการตกแต่งชลาคารในยุคนี้จะปรากฏอิทธิพลของศิลปะแบบอิสลามเพิ่มขึ้น เช่น ลวดลายประดับแบบเรขาคณิต หลังคาหรืออาคารรูปโดม เป็นต้น (อิทธิพลฮินดูค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จนปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ ก็แทบดับสนิท)

นอกเหนือจากมีหน้าที่เก็บกักน้ำและประกอบพิธีกรรมแล้ว ชลาคารยังมีหน้าที่ทางสังคมเพื่อให้ผู้คนต่างชั้นวรรณะได้ใช้เป็นที่พักผ่อน หรือ “หนีร้อนมาพึ่งเย็น” ในอาคารใต้ดินเหล่านี้ จากการวัดอุณหภูมิเปรียบเทียบพบว่า ในหน้าร้อน ชั้นล่างสุดของชลาคารขนาดความลึกประมาณ ๒๕ เมตร (หรือประมาณตึกสมัยใหม่ ๙-๑๐ ชั้น) มีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอุณหภูมิของพื้นดินด้านบนถึง ๕-๖ องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นความแตกต่างที่ก่อให้เกิด “ภาวะน่าสบาย” ไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อคำนึงว่าอุณหภูมิบนพื้นดินในหน้าร้อนของอินเดียแถวคุชราตหรือราชสถาน สามารถพุ่งขึ้นสูงไปถึง ๔๐ องศาเซลเซียสได้ไม่ยาก

ประเภทของชลาคาร
ชลาคารที่มีอยู่ประมาณ ๓,๐๐๐ แห่งในอินเดีย อาจแบ่งรูปลักษณะได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ ชลาคารแบบสระ (stepped pond) และชลาคารแบบอุโมงค์ (stepped well)
ชลาคารแบบสระ จะวางตำแหน่ง “ตาน้ำ” ไว้ตรงกลาง จากนั้นก็ค่อยๆ ผายชั้นดินรอบบ่อออกไปทั้ง ๔ ด้านเป็นบริเวณกว้าง (บางแห่งกว้างใหญ่ใกล้เคียงกับสนามฟุตบอล) โดย ๓ ด้านมักกรุหินไล่ขึ้นไปเป็นผนังสูงโดยมีช่วงชั้นขั้นบันไดจำนวนมากไต่สลับไปตามผนังสูงนี้ ส่วนด้านที่ ๔ ถ้าไม่เหมือนอีก ๓ ด้านก็มักสร้างเป็นวิหารสูงหลายชั้นดิ่งจากพื้นด้านบนลงสู่บ่อน้ำลึกเบื้องล่าง โดยวิหารบางแห่งสูง (หรือจริงๆ แล้วก็คือ “ลึก”) ถึงเกือบ ๒๐ เมตร (ประมาณตึกสมัยใหม่ ๘ ชั้น) ตัวอย่างคลาสสิคของชลาคารแบบสระนี้ ได้แก่ จัน เบารี (Chand Baori) แคว้นราชสถาน ซึ่งถือว่าเป็นชลาคารที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดีย
ผังชลาคารแบบสระ “จัน เบารี” ที่อาภาเนรี ราชสถาน (ภาพจาก Steps to Water : The Ancient Stepwells of India)

ชลาคารอีกแบบ คือแบบอุโมงค์ จะวางตาน้ำลึกไว้ตรงปลาย แล้วขุดพื้นดินเป็นร่องยาวเข้าไปหาบ่อตาน้ำ ร่องดินขุดนี้จะค่อยๆ ลึกลงเรื่อยๆ จนเสมอระดับของบ่อน้ำที่อยู่ชั้นล่างสุด จากนั้นจะสร้างอาคารหินที่มีเสาค้ำยันขึ้นกรุร่องดินยาวนี้ให้เสมอกันทั้งหมด ถ้ามองภาพตัดขวางจะเห็นเป็นวิหารเล่นระดับที่ค่อยๆ เพิ่มจำนวนชั้นขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะทางที่เข้าใกล้บ่อน้ำซึ่งถือเป็นส่วนที่ลึกที่สุดของอาคาร (บางแห่งลึกถึง ๒๗ เมตร หรือประมาณตึกสมัยใหม่ราว ๑๐-๑๑ ชั้น) ตัวอย่างชลาคารแบบอุโมงค์ที่มีชื่อเสียงและขึ้นชื่อด้านความงาม ได้แก่ รานี คี วาว (Rani ki Vav) และอะดาลาจ วาว 
(Adalaj Vav) ที่แคว้นคุชราต 
ซึ่งบัญชาสร้างโดย ๒ ราชินี นอกจากนี้ ชลาคารแบบอุโมงค์อื่นที่อาจไม่อลังการเท่า แต่ไม่น้อยหน้าในแง่ความโอ่อ่าสง่างามของโครงสร้าง รวมทั้งยังคงสภาพที่สมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ อาทิ ดาดา ฮารี นี วาว (Dada Hari Ni Vav) ตั้งอยู่ที่แคว้นคุชราตเช่นกัน

ผังชลาคารแบบอุโมงค์ “ดาดา ฮารี นี วาว” ที่แคว้นคุชราต 
(ภาพจาก Steps to Water : The Ancient Stepwells of India)
นอกจาก ๒ ประเภทหลักข้างต้นแล้ว ยังมีชลาคารหลายแห่งที่ผสมแบบสระกับแบบอุโมงค์เข้าด้วยกัน เช่น มีทางลงเป็นแนวยาวสู่บ่อตาน้ำ (ลักษณะของอุโมงค์) 

อีก ๓ ด้านก่อเป็นผนังทึบสูงชันล้อมทางลงนี้ไว้ภายในกรอบสี่เหลี่ยม และเปิดส่วนบนทั้งหมดไว้ ไม่กรุปิด (ลักษณะของสระ) เพื่อยามหน้าฝน น้ำจะท่วมเต็มพื้นที่ทั้งหมดและกลบตาน้ำไปด้วยจนกลายเป็นสระใหญ่สระเดียว ชลาคารแบบผสมซึ่งเป็นที่รู้จักดี อาทิ อะกราเซ็นเบารี (Agrasen Baori) ที่เมืองเดลี

ชลาคารแบบผสม “อะกราเซ็นเบารี” เมืองเดลี 

ทีมนักประดาน้ำ สุดตะลึง เจอถ้ำใต้น้ำยาวสุดในโลก

🌏เกือบหมดแรงอยู่แล้ว! 
ทีมนักประดาน้ำ สุดตะลึง เจอถ้ำใต้น้ำยาวสุดในโลก 
ทีมนักประดาน้ำโครงการศึกษาและอนุรักษ์พื้นที่ใต้น้ำคาบสมุทรยูคาทาน หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง พบถ้ำใต้น้ำยาวสุดในโลก ด้วยความยาวถึง 347 กม.ที่เม็กซิโก
เมื่อวันที่ 18 ม.ค.61 สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานทีมนักประดาน้ำโครงการ ‘The Gran Acuifero Maya’ (GAM) ซึ่งเป็นโครงการศึกษาและอนุรักษ์พื้นที่ใต้น้ำของคาบสมุทรยูคาทาน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเม็กซิโกต้องตื่นตะลึง เมื่อได้พบถ้ำที่มีความยาวที่สุดในโลก ด้วยความยาว ถึง 347 กิโลเมตร ใกล้ชายฝั่งของเมืองตูลุม รัฐกินตานาโร ซึ่งเคยเป็น ‘บ้าน’ หรือเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณ ‘มายา’ในอเมริกากลาง
ค้นหา
Custom Search
ข่าวแจ้งว่า ทีมนักประดาน้ำโครงการ GAM ได้พบกับถ้ำความยาวที่สุดในโลกครั้งนี้ ระหว่างลงไปสำรวจระบบทางเดินน้ำในถ้ำใต้น้ำ 2 แห่ง คือ ถ้ำ Sac Actun (ซัค อัคตุน) ยาว 263 กม. และถ้ำ Dos Ojos (โดส โอโฆส) ยาว 83 กม. มาเป็นเวลาหลายเดือน และท่ามกลางความเหนื่อยล้าจากการดำน้ำมาต่อเนื่องยาวนาน ปรากฏว่า ทีมนักประดาน้ำกลุ่มนี้ต้องดีใจอย่างที่สุด 

👉เมื่อได้พบว่าระหว่างสองถ้ำนี้มีจุดเชื่อมต่อกัน จึงทำให้กลายเป็นถ้ำที่มีความยาวที่สุดในโลกด้วยความยาว 347 กม. ซึ่งการค้นพบถ้ำใต้น้ำที่ยาวที่สุดในครั้งนี้ ยังถือเป็นความหวังใหม่ของการได้รู้ประวัติความเป็นมาของอาณาจักรมายา ที่เคยรุ่งเรืองช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงค.ศ.1502อีกด้วย
ด้านนายกิเอร์โม เด อันดา หัวหน้าทีมGAM กล่าวว่า การพบถ้ำสองแห่งมีจุดเชื่อมต่อจนกลายเป็นถ้ำเดียวที่ยาวที่สุดในโลกนี้ เป็นเรื่องน่าทึ่งมาก โดยการค้นพบนี้เรายังพบแหล่งโบราณคดีใต้น้ำซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจอารยธรรมมายาในยุคก่อนจะถูกอาณานิคมสเปนเข้าครอบครอง รวมทั้ง อาจจะช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นไปของอารยธรรมมายา ก่อนถูกชาวสเปนรุกรานอีกด้วย.

แม่น้ำทั้งสายสาบสูญหลังเกิดแผ่นดินไหวในคอสตาริกา


ค้นหา
Custom Search
พิศวง !! แม่น้ำทั้งสายสาบสูญหลังเกิดแผ่นดินไหวในคอสตาริกา"แม่น้ำสายเล็กๆใกล้เมืองอาร์เมเรีย เดอ ยูปาลา แห้งเหือดหลังแผ่นดินไหว

ตามหลังแผ่นดินไหวปานกลางหลายระลอกเขย่าคอสตาริกาเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ชาวบ้านต่างพบว่าแม่น้ำกัวคาลิโต แห้งเหือดหายสาบสูญไปอย่างประหลาดใจ เว็บไซต์แห่งหนึ่งรายงานเมื่อวันศุกร์(15)เว็บไซต์ Earthquake-report.com รายงานว่าหลังเกิดแผ่นดินไหวหลายระลอกเขย่าคอสตาริกาไปสักพัก ชาวบ้านจำนวนหนึ่งซึ่งพักอาศัยอยู่แถบแม่น้ำที่อยู่ใกล้ๆกับเมืองอาร์เมเรีย เดอ ยูปาลา พบว่าแม่น้ำแห้งเหือดไป

ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าน้ำในแม่น้ำหายได้อย่างไร แต่มีข้อสันนิษฐานอยู่ 2 กรณีคืออาจเกิดหลุมยุบขนาดใหญ่หลังแผ่นดินไหวหรือว่าแรงสั่นสะเทือนจากธรณีพิโรธก่อสิ่งกีดขวางทางน้ำจนทำให้แม่น้ำซึ่งอยู่ใกล้ภูเขาไฟมิราวัลเลสแห้งเหือด ขณะที่ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ติดชายแดนนิการากัว ใกล้ๆกับภูเขาไฟแห่งนี้
น้ำในแม่น้ำแห้งเหือดเป็นเรื่องแปลกแต่จริง และเหตุการณ์นี้ก็ไม่ใช่กรณีแรกที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้

ในปี 2010 แม่น้ำอิสกา ในสโลวาเกีย เหือดแห้งแบบไร้ร่องรอย หลังชาวบ้านได้ยินเสียงโครมครามดังสนั่นตอนกลางคืน ก่อนที่ในเช้าวันต่อมาก็พบว่าแม่น้ำทั้งสายหายไป เหลือไว้เพียงเหล่าปลาและสัตว์น้ำอื่นๆที่นอนเกลื่อนเส้นทางน้ำ

สันนิษฐานกันว่าน้ำในแม่น้ำแห่งนี้ได้ไหลลงสู่รอยแตกขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้เส้นทางน้ำ อย่างไรก็ตามคาดกันว่าการหายสาบสูญของน้ำดังกล่าวไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหว

ขณะเดียวกันเมื่อเร็วๆ น้ำในอ่างกักเก็บน้ำในฮันต์สบิวรี ของนิวซีแลนด์ กว่า 36 ล้านลิตรหายไป ตามหลังแผ่นดินไหวระดับ 6.3 เขย่า
ไครส์ตเชิร์ช เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์
ที่แล้ว

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2563

ป่าโบราณใต้ธารน้ำแข็งโผล่สู่โลกครั้งแรกในรอบพันปี


ค้นหา
Custom Search
นักวิจัยเก็บตัวอย่างต้นไม้
วัดคาร์บอนรังสีเพื่อหาความเก่าแก่ (ไลฟ์ไซน์)

ป่าโบราณโผล่จากธารน้ำแข็งละลายในอลาสก้า และเผยสู่โลกภายนอกครั้งแรกในรอบพันปี 
              
รายงานจากอาวเออร์อะเมซิง
แพลเนตและไลฟ์ไซน์ระบุว่า
ทั้งตอไม้และลำต้นโผล่ออกมาเรื่อยๆ จากธารน้ำแข็งเมนเดนฮอลล์ (Mendenhall Glacie) ทางตอนใต้ของอลาสก้า ซึ่งเป็นธารน้ำแข็งขนาด 95.3 ตารางกิโลเมตร ที่ไหลลงสู่ทะเลสาบใกล้เมืองจูโน (Juneau) อลาสก้า เมื่อเกือบ 50 ปีก่อน
             
ทว่าเมื่อปีที่ผ่านมานักวิจัยที่
มหาวิทยาลัยอลาสก้าเซาอีสต์ (University of Alaska Southeast) ในจูโน ได้สังเกตว่ามีต้นไม้โผล่ออกมามากขึ้น และจำนวนมากตั้งต้น บางส่วนยังมีรากค้ำ หรือมีเปลือกไม้
             
แคธี คอนเนอร์ (Cathy Connor) ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยอลาสก้าเซาเทิร์น ซึ่งร่วม
ในการตรวจวิเคราะห์ครั้งนี้กล่าวว่าเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่ได้เห็นส่วนนอกสุดของต้นไม้ และสามารถนับย้อนหลังได้ว่าต้นไม้มีอายุเท่าไหร่ และเป็นเรื่อง "เจ๋ง" ที่ได้เห็นต้นไม้เหล่านี้ยังไม่บุบสลาย

ทีมสำรวจจำแนกคร่าวๆ ว่าต้นไม้
ดังกล่าวน่าจะเป็นต้นสนหรือไม่ก็
ต้นเฮมล็อค (hemlock) ที่มีฤทธิ์เป็นพิษ โดยวิเคราะห์จากเส้นผ่านศูนย์กลางของเนื้อไม้ ..
และจากเหตุผลว่า ทุกวันนี้ต้นไม้ชนิดดังกล่าวเจริญเติบโตในพื้นที่แถบนั้น แต่คอนเนอร์กล่าวว่า 
ทีมวิจัยยังต้องประเมินตัวอย่าง
เพื่อยืนยันชนิดต้นไม้ให้แน่ชัด
              
จากการวิเคราะห์คาร์บอนรังสีพบว่าก้อนกรวดใต้ธารน้ำแข็งได้ห่อหุ้มต้นไม้เหล่านี้มีอายุมากว่า
1,000 ปี โดยเมื่อธารน้ำแข็งโตขึ้นในช่วงหน้าร้อนน้ำแข็งและจะละลายกลายเป็นกระแสน้ำที่ปล่อยชั้นกรวดออกไปตามขอบธารน้ำแข็ง
            
ชั้นกรวดสูง 1.2-1.5 เมตร คอยห่อหุ้มต้นไม้ไว้ก่อนที่ชั้นน้ำแข็งจะใหญ่พอไถหน้าดินกรวดเหล่านั้น แล้วปลิดกิ่งไม้ออกไป เหลือเพียงตอไม้ที่ถูกฝั่งอยู่ใต้สุสานธารน้ำแข็ง 
ซึ่งกระบวนการเดียวนี้กำลังเกิดขึ้นกับต้นคัตตอนวูด (cottonwood) 
ที่ธารน้ำแข็งทากุ (Taku Glacier) ทางตอนใต้ของเมืองจูโน 
ทำให้นักวิจัยศึกษากระบวนการในเวลาที่เกิดขึ้นจริงได้
ขณะที่ธารน้ำแข็งทากุกำลังเติบโตขึ้น แต่ธารน้ำแข็งเมนเดนฮอลล์กำลังลดลงด้วยในอัตรา 52 เมตร
ต่อปี นับแต่ปี 2005 ส่วนการลดลงของธารน้ำแข็งในหน้าร้อนปีนี้ยังไม่มีการคำนวณ แต่ทีมวิจัยคาดว่าน่าจะลดลงไปมากเนื่องจากอุณหภูมิหน้าร้อนที่ไม่ปกติในปีนี้
              
ตอนนี้ทีมวิจัยยังไม่ได้ตีพิมพ์งานวิจัยจากที่วิเคราะห์จากการสำรวจ แต่พวกเขามีแผนที่จะรวบรวมข้อมูลให้มากกว่านี้ โดยจะกลับไปเยือนธารน้ำแข็งเมนเดนฮอลล์ เพื่อขุดเก็บตัวอย่างต้นไม้ รวมทั้งวิเคราะห์วงปีเพื่อคำนวณอายุของต้นไม้
ตอไม้โบราณโผล่จากธารน้ำแข็งในอลาสก้า
 (ไลฟ์ไซน์)

รู้หรือไม่ ในอดีต แม่น้ำเจ้าพระยาไหลไปไกลถึงสิงคโปร์

รู้หรือไม่ ในอดีต แม่น้ำเจ้าพระยาไหลไปไกลถึงสิงคโปร์
ค้นหา
Custom Search
ย้อนไปเมื่อเมื่อ 17,000 ปีที่แล้ว ในยุคน้ำแข็ง คนไทยสามารถเดินเท้าไปยังประเทศอินโดนีเซีย ด้วยทางบก เพราะเวลานั้น น้ำทะเลลดไป 120 เมตร จากระดับน้ำทะเลในปัจจุบัน
พื้นที่แห่งนี้ถูกเรียกว่า ไหล่ทวีปซุนดา (Sunda Shelf) 

เป็นแผ่นทวีปที่เกิดขึ้นในในยุคไพลสโตซีน ซึ่งเป็นธรณีกาลระหว่าง 2,588,000-11,700 ปีก่อน เป็นช่วงที่มียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน 
โดยไหล่ทวีปซุนดานั้นมีพื้นที่ประมาณ 690,000 ตารางไมล์ (1,800,000 ตารางกิโลเมตร) หากเป็นพื้นที่ในปัจจุบันก็กินพื้นที่ตั้งแต่ทะเลจีนใต้ อ่าวไทย ทะเลชวา

ปัจจุบันแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร 
ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

ถ้ำน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลกEISRIESENWELT ICE CAVES

ค้นหา
Custom Search
😀EISRIESENWELT ICE CAVES ถ้ำน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก 
ในประเทศออสเตรีย
กลับมาพบกันอีกครั้งกับเรื่องราวของความเป็นที่สุดในโลกของเราในวันนี้ครับ ยังคงมีเรื่องราวที่น่าสนใจจากทั่วทุกมุมโลกมาให้ได้ติดตามรับชมกันตลอดเช่นเคย วันนี้เราจะพาทุกท่านเดินทางไปยังประเทศออสเตรีย เพื่อชื่นชม

Eisriesenwelt ice caves ถ้ำน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก อลังการด้วยความยาวกว่า 42 กิโลเมตรเลย
ทีเดียว

✨โดยถ้ำน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลกนี้ รู้จักกันในชื่อ  Eisriesenwelt ice caves  ชื่อ Eisriesenwelt นั้นแปลว่า World of the Ice Giants หรือ โลกของน้ำแข็งยักษ์ ด้วยความยาวของถ้ำที่มีกว่า 42 กิโลเมตร นั่นจึงไม่แปลกเลยที่มันจะเป็น ถ้ำน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในภูเขา Hochkogel เมือง Werfen ของประเทศออสเตรีย  
โดยผู้ที่ค้นพบถ้ำน้ำแข็งแห่งนี้อย่างเป็นทางการคือ Anton Posselt นักธรรมชาติวิทยา  เมื่อปี 1879 
(จริงๆ ก็มีคนพบก่อนหน้านี้แต่ไม่ได้เอามาบอกให้คนภายนอกได้รับรู้) การค้นพบของเขานั้นถูกตีพิมพ์ใน Mountaineering คนทั่วโลกจึงได้รู้จัก ถ้ำน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก แห่งนี้
ในเวลาต่อมาถ้ำน้ำแข็งแห่งนี้จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
ยอดนิยมไปโดยปริยาย ในแต่ละปีนั้นมีนักท่องเที่ยวมาเยือนกว่า 
3แสนคนเลยทีเดียวครับ 

โดยหากต้องการไปชมคุณจะต้องไปเฉพาะในช่องวันที่  1 พฤษภาคม – 26 ตุลาคม เพราะนอกจากนี้มันจะถูกปิดครับ แต่ละคนสามารถเข้าเยี่ยมชมถ้ำแห่งนี้ได้ราว  1 ชั่วโมง 15 นาที สุดยอดของธรรมชาติกันเลยน่ะงานนี้
EISRIESENWELT ICE CAVES

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2563

ตระการตาถ้ำน้ำแข็งกังเกอร์

ตระการตา!! ถ้ำน้ำแข็งกังเกอร์ 
หนึ่งในถ้ำที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซีย
ค้นหา

ถ้ำน้ำแข็ง (Ice Cave) ถ้ำน้ำแข็งกังเกอร์ (Kungur Ice Cave)
ในดินแดนเปียร์ม (Perm Krai)
ถ้ำน้ำแข็ง (Ice Cave) ถ้ำน้ำแข็งกังเกอร์ (Kungur Ice Cave) 
ท่องเที่ยว หากพูดถึงหนึ่งในถ้ำน้ำแข็ง (Ice Cave)  ที่มีชื่อเสียงในเขตเทือกเขาอูราล (Ural Mountains) ในประเทศรัสเซีย ดูเหมือนว่า ถ้ำน้ำแข็งกังเกอร์ (Kungur Ice Cave) 
ก็ควรเป็นหนึ่งในนั้นด้วยเช่นกัน 
ค้นหา
Custom Search

ถ้ำน้ำแข็ง (Ice Cave) ถ้ำน้ำแข็งกังเกอร์ (Kungur Ice Cave)
ในดินแดนเปียร์ม (Perm Krai)
โดยถ้ำน้ำแข็งแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ๆกับใกล้เมืองกังเกอร์ (Kungur) ในดินแดนเปียร์ม (Perm Krai) ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ และยังเป็นดินแดนในรัสเซียส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปอีกด้วย
ถ้ำน้ำแข็งกังเกอร์ เป็นอีกหนึ่งถ้ำ
น้ำแข็งที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่งในดินแดนเปียร์ม ด้วยความยาวของถ้ำกว่า 5กิโลเมตร 

ถ้ำน้ำแข็งแห่งนี้จึงเป็นหนึ่งในถ้ำที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซียอีกด้วย สำหรับความโดดเด่นของถ้น้ำแข็งแห่งนี้ก็คงเป็นโขดหินรูปทรงแปลกๆภายในถ้ำที่ถูกเคลือบด้วยผลึกน้ำแข็งและหิมะ เมื่อเกิดการละลายก็ได้กลายมาเป็นประติมากรรมสุดน่าทึ่ง! ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมได้เป็นอย่างมาก

ถ้ำน้ำแข็ง (Ice Cave) ถ้ำน้ำแข็งกังเกอร์ (Kungur Ice Cave)
ในดินแดนเปียร์ม (Perm Krai)

ถ้ำน้ำแข็ง (Ice Cave) ถ้ำน้ำแข็งกังเกอร์ (Kungur Ice Cave)
ในดินแดนเปียร์ม (Perm Krai)
(Kungur Ice Cave)
ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมกว่า 100,000 ราย ถ้ำน้ำแข็งกังเกอร์ เป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ปี 1703
โดย Peter the Great แต่เปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1914


ถ้ำน้ำแข็ง (Ice Cave) ถ้ำน้ำแข็งกังเกอร์ (Kungur Ice Cave)
ในดินแดนเปียร์ม (Perm Krai)
(Kungur Ice Cave)

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563

เรื่องลึกลับ น้ำอมฤต ที่ปรากฏในวรรณกรรมหลายเรื่องของทุกชนชาติ

ค้นหา
Custom Search
น้ำอมฤต /อะมะริด, หรือ อะมะรึด/ หรือ น้ำทิพย์ (อังกฤษ: elixir of life, elixir of immorality หรือ Dancing Water, อาหรับ: الإكسير, อัลอีกซีร์; เปอร์เซีย: آب حیات, อาบเอฮะยาต) เป็นยาน้ำหรือเครื่องดื่มซึ่งเชื่อกันว่าจะยังให้ผู้ดื่มเป็นอมตะหรือคงความเยาว์วัยแห่งรูปร่างไว้ชั่วกัลป์ บ้างก็ว่าสามารถชุบชีวิตหรือสร้างชีวิตใหม่ได้ เรียกว่าเป็นยาแก้สรรพโรคประเภทหนึ่ง และเคยเป็นที่ต้องการและควานไขว่หาอย่างบ้าคลั่งของลัทธิรสายนเวทอยู่พักใหญ่

น้ำอมฤตปรากฏในวรรณกรรมหลายเรื่องของทุกชนชาติ ยังไม่มีความกระจ่างชัดว่ามีการค้นพบน้ำอมฤตแล้วหรือยัง กระนั้น บรรดานักรสายนเวทในจีนโบราณ อินเดียโบราณ และโลกตะวันตก ได้พากันควานค้นหากันเป็นขนานใหญ่และอย่างบ้าคลั่ง

ในประเทศจีน น้ำอมฤตได้รับสมญาเป็น "แก่นสารแห่งชีวิติ" (อังกฤษ: quintessence of life) โดยเป็นธาตุหนึ่งในห้าตามทฤษฎีทางปรัชญารสายนเวทในประเทศจีน ซึ่งทางอินเดียว่าเป็นธาตุหนึ่งในสามสิบหกธาตุ และทางตะวันตกว่าเป็นหนึ่งในสี่

ในประเทศจีน
สมัยจีนโบราณ สมเด็จพระจักรพรรดิหลายพระองค์ได้ทรงใช้พระราชอุตสาหะในการควานหาน้ำอมฤต และผลลัพธ์ที่แต่ละพระองค์ทรงประสบก็แตกต่างกันไป โดยในสมัยราชวงศ์ฉิน ฉินสื่อหวงตี้ได้ทรงส่งนักพรตเต๋าชื่อ "สูฝู" (จีน: 徐福; พินอิน: Xúfú) พร้อมเด็กชายหญิงอย่างละห้าร้อยคน ออกเดินทางไปยังทะเลตะวันออก (จีน: 东海; พินอิน: dōnghǎi, ตงไห่) เพื่อตามหาน้ำอมฤต แต่ขบวนนักพรตสูฝูออกจากพระราชสำนักแล้วก็หายสาบสูญไปมิได้กลับมาอีกเลย บางตำนานว่าพวกเขาไปพบดินแดนญี่ปุ่นแทน

ชาวจีนโบราณเชื่อว่า การรับประทานวัตถุบางอย่าง เช่น หยก ชาด หรือฮีมาไทต์ จะช่วยให้อายุยืนยาว

นอกจากนี้ ยังหนังสือจีนเล่มหนึ่งอายุประมาณ พ.ศ. 1193 ชื่อ "ความลับสุดยอดแห่งรสายนเวท" (อังกฤษ: Great Secrets of Alchemy) ซึ่งเป็นหนังสือมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศจีน ระบุรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับวิธีผลิตโอสถสำหรับความเป็นอมตะและสำหรับรักษาโรคบางชนิด และวิธีการผลิตเพชรนิลจินดาเอาไว้
ในประเทศอินเดีย น้ำอมฤตที่ปรากฏ มาจาก การอวตารภาคหนึ่งของพระนารายณ์ในปาง กูรมาวตาร

ในตะวันออกกลาง
ดูเพิ่มเติมที่: รสายนเวทและการเคมีในศาสนาอิสลาม
คำว่า "น้ำอมฤต" ในภาษาอังกฤษคือ "elixir" (คำอ่าน: ɪˈlɪksər /อีลีกเซอร์/) เป็นคำที่รับมาจากคำในภาษาอาหรับว่า " آب حیات. " (/อัลอีกซีร์/) ซึ่งก็อาจมาจากคำว่า "Aab-e-Hayaat'" (/อาบเอฮะยาต/) ในภาษาเปอร์เซียอีกทอดหนึ่ง

ในยุคกลางของอิสลาม บรรดานักรสายนเวททั้งชาวอาหรับและอิหร่านล้วนใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดในการค้นหาน้ำอมฤตกัน แต่ก็ไร้ผล หากกลับกลายว่าพวกเขาสามารถพัฒนาวงการแพทย์อิสลามให้รุ่งเรืองได้แทนแปลกไหมครับ

กวนเกษียรสมุทร

ทะเลสาบโครงกระดูก

ค้นหา
Custom Search
เปิดตำนาน “ทะเลสาบโครงกระดูก” บนเทือกเขาหิมาลัย เรื่องลึกลับที่พิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์
เทือกเขาหิมาลัยเป็นเทือกเขาที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ ความสวยงาม และความท้าทายของเหล่านักปีนเขามานักต่อนักแล้ว แต่เชื่อหรือไม่ว่าจริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้สวยงามไปเสียทั้งหมด เพราะยังมีเรื่องสยองๆ แอบซ่อนอยู่ที่นั่นเหมือนกัน…

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ Wittyfeed ได้เปิดเผยเรื่องราวชวนขนลุกนิดๆ ของ “ทะเลสาบโครงกระดูกรุปคันด์” หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “ทะเลสาบลึกลับ” ทะเลสาบแห่งนี้ตั้งอยู่บนภูเขาลูกหนึ่งในรัฐอุตตราขัณฑ์  ประเทศอินเดีย

เมื่อตอนที่อากาศเย็นตัวจัดๆ ทะเลสาบแห่งนี้จะกลายเป็นน้ำแข็ง ผู้คนจึงพากันมาเล่นสเก็ตกับบนที่แห่งนี้ แต่เมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น น้ำแข็งในทะเลสาบและหิมะที่ปกคลุมพื้นที่โดยรอบก็เริ่มละลาย ความสยองก็เริ่มเผยให้เห็น

เพราะบริเวณรอบๆ ทะเลสาบนั้นเต็มไปด้วยโครงกระดูกและกะโหลกของมนุษย์ แถมยังมีกระดูกบางส่วนถูกวางทิ้งไว้ใต้ทะเลสาบอีกด้วย จากการค้นพบโครงกระดูกเหล่านี้ ทำให้ผู้คนเกิดความสงสัยกันมากว่าโครงกระดูกเหล่านี้เป็นของใครกันแน่?

ตามรายงานบอกว่าโครงกระดูกเหล่านี้ถูกค้นพบเมื่อปี 1942 
โดยนักเดินทางชาวอังกฤษรายหนึ่ง ซึ่งมีตำนานและเรื่องเล่ากันว่าโครงกระดูกที่เกลื่อนพื้นเหล่านี้อาจจะเป็นของทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เสียชีวิตระหว่างเดินทางผ่านเส้นทางนี้

บางตำนานบอกว่าโครงกระดูกที่เห็นอาจเป็นพิธีกรรมการฆ่าตัวตายบริเวณรอบทะเลสาบก็เป็นได้ แต่โชคดีที่วิทยาการทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ไปไกล 

👉ทำให้นักนิติวิทยาศาสตร์ได้เข้ามาทำการสำรวจและพบว่าจริงๆ แล้วโครงกระดูกเหล่านั้นเป็นของมนุษย์ในช่วงปีค.ศ. 830 – 850

ตำนานในท้องถิ่นเล่าว่ากษัตริย์ราจา จัสฮาวาลแห่งนครกาโนจ กับภรรยารานี บาลัมปา ที่กำลังตั้งครรภ์ พร้อมด้วยผู้ติดตามจำนวนหนึ่งได้ออกเดินทางไปยังยอดเขานันทาเทวี รัฐอุตตราขัณฑ์ แต่เมื่อเดินทางมาถึงที่แห่งนี้กลับเจอพายุลูกเห็บอย่างหนักพัดเข้าใส่ทำให้พวกเขาเสียชีวิต

จากการตรวจสอบกะโหลกของพวกเขา ทำให้พบรอยแตกคล้ายๆ กันที่ศรีษะ จึงสรุปได้ว่าพวกเขาเสียชีวิตเพราะพายุลูกเห็บนั่นเอง

น้ำตกngel Falls สายน้ำกลายเป็นหมอก

Angel Falls สายน้ำกลายเป็นหมอก
ค้นหา
Custom Search
น้ำตกเอนเจล คือน้ำตกที่ตั้งอยู่กลางป่าดงดิบในประเทศเวเนซุเอลา ถูกจัดให้เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในโลก ด้วยความสูงกว่า 979 เมตร เดิมทีเป็นที่รู้จักของชาวพื้นเมืองว่า เคเรปาคุปาอิ เมรู (Kerepakupai merú) หมายถึง น้ำตกแห่งสถานที่ที่ลึกที่สุด และ ชูรุน เมรู (Churun-meru) ซึ่งหมายถึง น้ำตกสายฟ้า

น้ำตกแห่งนี้ถูกรู้จักในชื่อ น้ำตกเอนเจล เพื่อเป็นเกียรติ์แก่นักบินชาวอเมริกัน จิมมี แองเจิล ผู้ค้นพบน้ำตกเป็นคนแรก ในปี พ.ศ. 2478 จากการที่เขาขับเครื่องบินเล็กเข้ามาสำรวจหาแหล่งแร่ ในบริเวณเทือกเขาของประเทศเวเนซุเอลา
จนกระทั่งในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซแห่งเวเนซุเอลา ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อทางการของน้ำตกแห่งนี้ว่า “เคเรปาคุปาอิ เมรู” ด้วยเหตุผลว่า “น้ำตกแห่งนี้เป็นของชาวเวเนซุเอลามานานก่อนที่ชาวอเมริกัน จิมมี แองเจิล จะมาพบ”
Angel Falls
ความพิเศษของน้ำตกแห่งนี้คือการที่สายน้ำไม่สามารถไหลลงมาจนถึงพื้นได้ ด้วยความสูงที่มากของน้ำตก ทำให้น้ำที่ไหลผ่านมาตามแนวหินผ่านช่องผาสูงลงมากลายเป็นหมอกไปก่อนจะถึงพื้น เป็นเหตุให้พื้นที่นี้คล้ายกับถูกปกคลุมด้วยหมอกตลอดเวลา

ซึ่งหากนักท่องเที่ยวต้องการจะเข้าไปเยี่ยมชมความสวยงาม พวกเขาจะต้องเดินทางโดยเครื่องบินหรือเรือเท่านั้น เนื่องจากน้ำตกแห่งนี้อยู่ในอุทยาน และเป็นพื้นที่ภูเขายอดตัดที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก

รายการบล็อกของฉัน