ค้นหา
Custom Search
|
นักวิจัยเก็บตัวอย่างต้นไม้
วัดคาร์บอนรังสีเพื่อหาความเก่าแก่ (ไลฟ์ไซน์)
วัดคาร์บอนรังสีเพื่อหาความเก่าแก่ (ไลฟ์ไซน์)
ป่าโบราณโผล่จากธารน้ำแข็งละลายในอลาสก้า และเผยสู่โลกภายนอกครั้งแรกในรอบพันปี
รายงานจากอาวเออร์อะเมซิง
แพลเนตและไลฟ์ไซน์ระบุว่า
ทั้งตอไม้และลำต้นโผล่ออกมาเรื่อยๆ จากธารน้ำแข็งเมนเดนฮอลล์ (Mendenhall Glacie) ทางตอนใต้ของอลาสก้า ซึ่งเป็นธารน้ำแข็งขนาด 95.3 ตารางกิโลเมตร ที่ไหลลงสู่ทะเลสาบใกล้เมืองจูโน (Juneau) อลาสก้า เมื่อเกือบ 50 ปีก่อน
ทั้งตอไม้และลำต้นโผล่ออกมาเรื่อยๆ จากธารน้ำแข็งเมนเดนฮอลล์ (Mendenhall Glacie) ทางตอนใต้ของอลาสก้า ซึ่งเป็นธารน้ำแข็งขนาด 95.3 ตารางกิโลเมตร ที่ไหลลงสู่ทะเลสาบใกล้เมืองจูโน (Juneau) อลาสก้า เมื่อเกือบ 50 ปีก่อน
ทว่าเมื่อปีที่ผ่านมานักวิจัยที่
มหาวิทยาลัยอลาสก้าเซาอีสต์ (University of Alaska Southeast) ในจูโน ได้สังเกตว่ามีต้นไม้โผล่ออกมามากขึ้น และจำนวนมากตั้งต้น บางส่วนยังมีรากค้ำ หรือมีเปลือกไม้
แคธี คอนเนอร์ (Cathy Connor) ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยอลาสก้าเซาเทิร์น ซึ่งร่วม
แคธี คอนเนอร์ (Cathy Connor) ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยอลาสก้าเซาเทิร์น ซึ่งร่วม
ในการตรวจวิเคราะห์ครั้งนี้กล่าวว่าเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่ได้เห็นส่วนนอกสุดของต้นไม้ และสามารถนับย้อนหลังได้ว่าต้นไม้มีอายุเท่าไหร่ และเป็นเรื่อง "เจ๋ง" ที่ได้เห็นต้นไม้เหล่านี้ยังไม่บุบสลาย
ทีมสำรวจจำแนกคร่าวๆ ว่าต้นไม้
ดังกล่าวน่าจะเป็นต้นสนหรือไม่ก็
ต้นเฮมล็อค (hemlock) ที่มีฤทธิ์เป็นพิษ โดยวิเคราะห์จากเส้นผ่านศูนย์กลางของเนื้อไม้ ..
และจากเหตุผลว่า ทุกวันนี้ต้นไม้ชนิดดังกล่าวเจริญเติบโตในพื้นที่แถบนั้น แต่คอนเนอร์กล่าวว่า
ทีมวิจัยยังต้องประเมินตัวอย่าง
เพื่อยืนยันชนิดต้นไม้ให้แน่ชัด
จากการวิเคราะห์คาร์บอนรังสีพบว่าก้อนกรวดใต้ธารน้ำแข็งได้ห่อหุ้มต้นไม้เหล่านี้มีอายุมากว่า
1,000 ปี โดยเมื่อธารน้ำแข็งโตขึ้นในช่วงหน้าร้อนน้ำแข็งและจะละลายกลายเป็นกระแสน้ำที่ปล่อยชั้นกรวดออกไปตามขอบธารน้ำแข็ง
ชั้นกรวดสูง 1.2-1.5 เมตร คอยห่อหุ้มต้นไม้ไว้ก่อนที่ชั้นน้ำแข็งจะใหญ่พอไถหน้าดินกรวดเหล่านั้น แล้วปลิดกิ่งไม้ออกไป เหลือเพียงตอไม้ที่ถูกฝั่งอยู่ใต้สุสานธารน้ำแข็ง
1,000 ปี โดยเมื่อธารน้ำแข็งโตขึ้นในช่วงหน้าร้อนน้ำแข็งและจะละลายกลายเป็นกระแสน้ำที่ปล่อยชั้นกรวดออกไปตามขอบธารน้ำแข็ง
ชั้นกรวดสูง 1.2-1.5 เมตร คอยห่อหุ้มต้นไม้ไว้ก่อนที่ชั้นน้ำแข็งจะใหญ่พอไถหน้าดินกรวดเหล่านั้น แล้วปลิดกิ่งไม้ออกไป เหลือเพียงตอไม้ที่ถูกฝั่งอยู่ใต้สุสานธารน้ำแข็ง
ซึ่งกระบวนการเดียวนี้กำลังเกิดขึ้นกับต้นคัตตอนวูด (cottonwood)
ที่ธารน้ำแข็งทากุ (Taku Glacier) ทางตอนใต้ของเมืองจูโน
ทำให้นักวิจัยศึกษากระบวนการในเวลาที่เกิดขึ้นจริงได้
ขณะที่ธารน้ำแข็งทากุกำลังเติบโตขึ้น แต่ธารน้ำแข็งเมนเดนฮอลล์กำลังลดลงด้วยในอัตรา 52 เมตรต่อปี นับแต่ปี 2005 ส่วนการลดลงของธารน้ำแข็งในหน้าร้อนปีนี้ยังไม่มีการคำนวณ แต่ทีมวิจัยคาดว่าน่าจะลดลงไปมากเนื่องจากอุณหภูมิหน้าร้อนที่ไม่ปกติในปีนี้
ตอนนี้ทีมวิจัยยังไม่ได้ตีพิมพ์งานวิจัยจากที่วิเคราะห์จากการสำรวจ แต่พวกเขามีแผนที่จะรวบรวมข้อมูลให้มากกว่านี้ โดยจะกลับไปเยือนธารน้ำแข็งเมนเดนฮอลล์ เพื่อขุดเก็บตัวอย่างต้นไม้ รวมทั้งวิเคราะห์วงปีเพื่อคำนวณอายุของต้นไม้
ตอไม้โบราณโผล่จากธารน้ำแข็งในอลาสก้า
(ไลฟ์ไซน์)