ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2563

ชลาคารวิหารลึกลับใต้พิภพที่อินเดีย


👉ชลาคารวิหารใต้พิภพอินเดีย
ค้นหา
Custom Search
มหาชลาคาร “จัน เบารี” ตัวอย่างคลาสสิคของชลาคารแบบสระ ขนาดน้องๆ สนามฟุตบอล ที่มานิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับมกราคม 2559

ในบรรรดาสิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์
แห่งอดีต มี “วิหารหิน” ของอินเดียประเภทหนึ่งที่เก่าแก่และโอ่อ่าตระการตาไม่น้อยไปกว่าปราสาทขอมและชวา แต่ในขณะที่ปราสาทหินแห่งอาเซียนได้กลายเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ วิหารหินแห่งชมพูทวีปเหล่านี้ยังคงซ่อนตัวเงียบ ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักพบเห็นแม้ในหมู่คนอินเดียเองเสียด้วยซ้ำ

ก็จะให้ประสบพบเจอได้ง่ายๆ อย่างไรเล่าครับ เพราะวิหารหิน
ที่เรียกว่า “ชลาคาร” เหล่านี้ต่างถูกสร้างขึ้นเพื่อให้จมอยู่ใต้ผืนพิภพ 
แต่ถ้าหากสามารถกลับหัวเอาความลึกขึ้นมาตั้งบนแผ่นดินได้ หลายแห่งจะมีขนาดสูงใหญ่เกินกว่าปราสาทหินพิมาย พนมรุ้ง หรือโบราณสถานจำนวนไม่น้อยในภูมิภาคอาเซียนของเรา....

👉อะไรคือ “ชลาคาร”
ชลาคาร คือวิหารหินขนาดน้อยใหญ่ พบได้ทั่วไปในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ตั้งแต่เมืองเดลีไล่เฉียงลงไปยังแคว้นราชสถานจนถึงแคว้นคุชราต ซึ่งพื้นที่สองแคว้นนี้มีชลาคารกระจุกตัวอยู่นับพันแห่ง

ความน่ามหัศจรรย์ของชลาคารซึ่งในภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “เบารี” หรือ “วาว” ก็คือ แทนที่ผู้สร้างจะก่อมันขึ้นจากพื้นดินให้สูงเสียดยอดทะลุฟ้า ก็กลับขุดคว้านผืนพิภพเป็นหลุมยักษ์ แล้วก่อเป็นอาคารมหึมาในหลุมหรือกรุหลุมให้เต็มด้วยหมู่อาคารที่ค่อยๆ ทิ้งช่วงชั้นต่างๆ 
ดิ่งลึกลงใต้ดิน จนชลาคารบางแห่ง
มีสภาพเหมือนเมืองที่จมอยู่ใต้พิภพบ่อน้ำลึกชั้นล่างสุดของวิหารใต้พิภพ ๕ ชั้น 

“ดาดา ฮารี นี วาว” 
(ภาพจาก คุณธีระพงษ์ วานิชานนท์)
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะชลาคาร 
(ชล + อาคาร) มีหน้าที่หลักเบื้องต้นเพื่อเป็น “วิหารเก็บกักน้ำ” ให้ชุมชนที่อยู่รอบๆ ได้มีไว้ใช้ตลอดปี ในแคว้นคุชราตและราชสถานซึ่งพบชลาคารเป็นจำนวนมากนั้น ภูมิประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะกึ่งแล้ง มีแม่น้ำน้อยสาย แต่จะมีฝนตกหนักเป็นช่วงสั้นๆ อยู่บ้างราวกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนสิงหาคม หรือปีละไม่เกิน ๓ เดือน ดังนั้น ผู้คนจึงต้องอาศัยการขุดหาตาน้ำและสร้างบ่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงกว่า ๙ เดือนที่เหลือของปี ต่อมาบ่อน้ำนี้ก็ได้พัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมใต้ดินซึ่งมีวัตถุประสงค์ทั้งในด้านการใช้สอย ด้านสังคม ด้านพิธีกรรม ไปจนถึงด้านสุนทรียะและสถาปัตยกรรมอันงามวิจิตรเทียบเท่าศาสนสถานหรือปราสาทหินโบราณตามที่ต่างๆ ที่เราพบเห็นกันบนพื้นดิน

ชลาคารแบบสระ “ฮาดี รานี” แคว้นราชสถาน ด้วยเหตุที่กลายมาเป็นสักการสถานนี้ จึงพบว่าชลาคารหลายแห่งถูกสร้างขึ้นด้วยหินคุณภาพดี มีการออกแบบที่สวยงามเป็นสัดส่วนช่วงชั้น มีการแกะสลักเสาคานและเครื่องค้ำยันอาคารต่างๆ เป็นลวดลายประณีตตระการตา มีรูปจำหลักเทพเจ้าไว้เพื่อสักการะ มีการสลักรูปสิงสาราสัตว์ พรรณพฤกษา และผู้คนประดับประดาวิจิตรเกลื่อนอยู่ทั่วไป ซึ่งหากมองดูจากภายในอาคารแล้ว ก็แทบไม่รู้เลยว่าโบราณสถานเหล่านี้ฝังตัวจมลึกอยู่ใต้ผืนดินหลายสิบเมตร

ชลาคารยุคต้นถูกสร้างขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ ๖-๗ หรือราว ๑,๓๐๐ ปีที่แล้ว โดยยุคทองที่มีการสร้างชลาคารอย่างแพร่หลายตกอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๙-๑๓ (ร่วมสมัยกับยุคเมืองพระนครของกัมพูชา และก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยของเราจะก่อตั้งขึ้น)

แรกเริ่ม ชลาคารถูกสร้างขึ้นภายใต้อิทธิพลของศาสนาฮินดู ต่อมาเมื่อราชวงศ์มุสลิมเข้าครองอำนาจในชมพูทวีป ก็ยังคงรักษาและพัฒนาชลาคารต่อไป อย่างน้อยก็ด้วยเห็นประโยชน์ด้านการเก็บรักษาและใช้สอยน้ำ อย่างไรก็ดี รูปแบบและการตกแต่งชลาคารในยุคนี้จะปรากฏอิทธิพลของศิลปะแบบอิสลามเพิ่มขึ้น เช่น ลวดลายประดับแบบเรขาคณิต หลังคาหรืออาคารรูปโดม เป็นต้น (อิทธิพลฮินดูค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จนปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ ก็แทบดับสนิท)

นอกเหนือจากมีหน้าที่เก็บกักน้ำและประกอบพิธีกรรมแล้ว ชลาคารยังมีหน้าที่ทางสังคมเพื่อให้ผู้คนต่างชั้นวรรณะได้ใช้เป็นที่พักผ่อน หรือ “หนีร้อนมาพึ่งเย็น” ในอาคารใต้ดินเหล่านี้ จากการวัดอุณหภูมิเปรียบเทียบพบว่า ในหน้าร้อน ชั้นล่างสุดของชลาคารขนาดความลึกประมาณ ๒๕ เมตร (หรือประมาณตึกสมัยใหม่ ๙-๑๐ ชั้น) มีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอุณหภูมิของพื้นดินด้านบนถึง ๕-๖ องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นความแตกต่างที่ก่อให้เกิด “ภาวะน่าสบาย” ไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อคำนึงว่าอุณหภูมิบนพื้นดินในหน้าร้อนของอินเดียแถวคุชราตหรือราชสถาน สามารถพุ่งขึ้นสูงไปถึง ๔๐ องศาเซลเซียสได้ไม่ยาก

ประเภทของชลาคาร
ชลาคารที่มีอยู่ประมาณ ๓,๐๐๐ แห่งในอินเดีย อาจแบ่งรูปลักษณะได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ ชลาคารแบบสระ (stepped pond) และชลาคารแบบอุโมงค์ (stepped well)
ชลาคารแบบสระ จะวางตำแหน่ง “ตาน้ำ” ไว้ตรงกลาง จากนั้นก็ค่อยๆ ผายชั้นดินรอบบ่อออกไปทั้ง ๔ ด้านเป็นบริเวณกว้าง (บางแห่งกว้างใหญ่ใกล้เคียงกับสนามฟุตบอล) โดย ๓ ด้านมักกรุหินไล่ขึ้นไปเป็นผนังสูงโดยมีช่วงชั้นขั้นบันไดจำนวนมากไต่สลับไปตามผนังสูงนี้ ส่วนด้านที่ ๔ ถ้าไม่เหมือนอีก ๓ ด้านก็มักสร้างเป็นวิหารสูงหลายชั้นดิ่งจากพื้นด้านบนลงสู่บ่อน้ำลึกเบื้องล่าง โดยวิหารบางแห่งสูง (หรือจริงๆ แล้วก็คือ “ลึก”) ถึงเกือบ ๒๐ เมตร (ประมาณตึกสมัยใหม่ ๘ ชั้น) ตัวอย่างคลาสสิคของชลาคารแบบสระนี้ ได้แก่ จัน เบารี (Chand Baori) แคว้นราชสถาน ซึ่งถือว่าเป็นชลาคารที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดีย
ผังชลาคารแบบสระ “จัน เบารี” ที่อาภาเนรี ราชสถาน (ภาพจาก Steps to Water : The Ancient Stepwells of India)

ชลาคารอีกแบบ คือแบบอุโมงค์ จะวางตาน้ำลึกไว้ตรงปลาย แล้วขุดพื้นดินเป็นร่องยาวเข้าไปหาบ่อตาน้ำ ร่องดินขุดนี้จะค่อยๆ ลึกลงเรื่อยๆ จนเสมอระดับของบ่อน้ำที่อยู่ชั้นล่างสุด จากนั้นจะสร้างอาคารหินที่มีเสาค้ำยันขึ้นกรุร่องดินยาวนี้ให้เสมอกันทั้งหมด ถ้ามองภาพตัดขวางจะเห็นเป็นวิหารเล่นระดับที่ค่อยๆ เพิ่มจำนวนชั้นขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะทางที่เข้าใกล้บ่อน้ำซึ่งถือเป็นส่วนที่ลึกที่สุดของอาคาร (บางแห่งลึกถึง ๒๗ เมตร หรือประมาณตึกสมัยใหม่ราว ๑๐-๑๑ ชั้น) ตัวอย่างชลาคารแบบอุโมงค์ที่มีชื่อเสียงและขึ้นชื่อด้านความงาม ได้แก่ รานี คี วาว (Rani ki Vav) และอะดาลาจ วาว 
(Adalaj Vav) ที่แคว้นคุชราต 
ซึ่งบัญชาสร้างโดย ๒ ราชินี นอกจากนี้ ชลาคารแบบอุโมงค์อื่นที่อาจไม่อลังการเท่า แต่ไม่น้อยหน้าในแง่ความโอ่อ่าสง่างามของโครงสร้าง รวมทั้งยังคงสภาพที่สมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ อาทิ ดาดา ฮารี นี วาว (Dada Hari Ni Vav) ตั้งอยู่ที่แคว้นคุชราตเช่นกัน

ผังชลาคารแบบอุโมงค์ “ดาดา ฮารี นี วาว” ที่แคว้นคุชราต 
(ภาพจาก Steps to Water : The Ancient Stepwells of India)
นอกจาก ๒ ประเภทหลักข้างต้นแล้ว ยังมีชลาคารหลายแห่งที่ผสมแบบสระกับแบบอุโมงค์เข้าด้วยกัน เช่น มีทางลงเป็นแนวยาวสู่บ่อตาน้ำ (ลักษณะของอุโมงค์) 

อีก ๓ ด้านก่อเป็นผนังทึบสูงชันล้อมทางลงนี้ไว้ภายในกรอบสี่เหลี่ยม และเปิดส่วนบนทั้งหมดไว้ ไม่กรุปิด (ลักษณะของสระ) เพื่อยามหน้าฝน น้ำจะท่วมเต็มพื้นที่ทั้งหมดและกลบตาน้ำไปด้วยจนกลายเป็นสระใหญ่สระเดียว ชลาคารแบบผสมซึ่งเป็นที่รู้จักดี อาทิ อะกราเซ็นเบารี (Agrasen Baori) ที่เมืองเดลี

ชลาคารแบบผสม “อะกราเซ็นเบารี” เมืองเดลี 

รายการบล็อกของฉัน

  • Puya berteroniana ดอกไม้สีแปลก - Puya berteroniana ดอกไม้สีแปลก Puya berteroniana เป็นพืชพื้นเมืองในประเทศชีลิ ต้นมีความสูง 3-4 เมตร เติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศหนาว ที่ระดับความสูง 50...
    6 วันที่ผ่านมา
  • เรื่องลึกลับค้นพบบะหมี่โบราณ 4,000 ปี - *ค้นพบบะหมี่โบราณ 4,000 ปี* นี่คือภาพของเส้นบะหมี่สภาพสมบูรณ์ที่ถูกค้นพบลึกลงไปในพื้นดิน 3 เมตร ในแหล่งโบราณคดีล่าเจีย ตำบลหมิงเหอ อำเภอไห่ตง มณฑลชิงไ...
    3 เดือนที่ผ่านมา
  • พบหลักฐานการเดินทางของมนุษย์ต่างดาวผ่านด้วย วาร์ป - พบหลักฐานการเดินทางของมนุษย์ต่างดาวผ่านด้วย วาร์ป การศึกษาวิจัยใหม่ พบทฤษฎีที่ว่า “เครื่องขับเคลื่อนด้วย วาร์ป ” เป็นไปได้ โดยวิธีการเดินทางในอวกาศที่รวด...
    4 เดือนที่ผ่านมา
  • เรื่องแปลก น้ำทะเลสีแดงซัดชายฝั่งออสเตรเลีย - ค้นหา [image: Google] Custom Search เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนปีที่ผ่านมา เว็บไซต์เดลิเมลของอังกฤษ รายงานว่า เกิด ปรากฏการณ์น่าทึ่งขึ้นในชายหาดบอนได เมือ...
    2 ปีที่ผ่านมา
  • ปรากฏการณ์รุ้งหมอก - ปรากฏการณ์รุ้งหมอก Fog bow เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากละอองน้ำมีขนาดเล็กมาก โดยละอองน้ำนั้นจะต้องมีขนาดที่เล็กกว่า 0.05 มิลลิเมตร และเนื่องจากละอองน้ำนั้นมีข...
    3 ปีที่ผ่านมา