ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

นาซาคาดปี 2100 น้ำทะเลสูงขึ้นเกือบ 1 ฟุต

ค้นหา
Custom Search
‘นาซา’ คาดปี 2100 น้ำทะเลสูงขึ้นเกือบ 1 ฟุตเก็บข้อมูล 25 ปี โยงเหตุโลกร้อน-น้ำแข็งละลาย

“องค์การนาซา” ซุ่มเก็บข้อมูลดาวเทียม 25 ปี คาดการณ์ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นถึงเกือบ 1 ฟุต 
ภายในปี 2100 เร่งทำวิจัยต่อเนื่อง พิสูจน์หลักฐานเชื่อมโยงปรากฏการณ์โลกร้อน

12 ก.พ.ที่ผ่านมา ทีมติดตามระดับการเปลี่ยนแปลงน้ำทะเล (Sea Level Change) ของนาซา (NASA)
เผยงานวิจัยชื่อ “Climate-change–driven accelerated sea-level rise detected in the altimeter era” (ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น) ในวารสารวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ PNAS (Proceedings of the National Academy of Sciences) ซึ่งได้มีการติดตามข้อมูลดาวเทียมเป็นเวลา 25 ปี พบว่า ระดับน้ำทะเลทั่วโลกกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 
จากในช่วงปี 1990 ที่เคยเพิ่มขึ้นปีละ 2.5 มิลลิเมตร/ปี ปัจจุบันกลับเพิ่มขึ้นถึงปีละ 3.4 มิลลิเมตร/ปี นับเป็นอัตราที่รวดเร็วขึ้นมากโดยเฉพาะช่วง 10 ปีหลัง

สาเหตุหลักเป็นที่คาดเดาได้ เพราะอุณหภูมิโลกด้วยรวมร้อนขึ้น นั่นทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นจากสองปัจจัยคือ หนึ่ง-ปริมาตรน้ำขยายตัวขณะที่น้ำในทะเลร้อนขึ้น 
และสอง-การละลายของน้ำแข็งบก (land ice) ที่ปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอนตาร์กติกา รวมถึงธารน้ำแข็ง (glacier) ลงสู่มหาสมุทร ซึ่งนาซาคาดว่า หากระดับน้ำทะเลยังคงเพิ่มสูงในอัตราเท่าเดิมอย่างต่อเนื่อง ภายในปี 2100 ระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะสูงถึง 26 นิ้วหรือ 65 มิลลิเมตร และนั่นเพียงพอที่จะสร้างผลกระทบใหญ่หลวงให้กับเมืองชายฝั่งทั่วโลก

รายงานดังกล่าวเป็นโครงการร่วมมือขององค์กรในหลายๆ ประเทศ ได้แก่ นาซา องค์การศึกษาวิจัยอวกาศแห่งชาติฝรั่งเศส (CNES) องค์กรยุโรปสำหรับใช้ประโยชน์จากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา (EUMETSAT) และองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ (NOAA) 

โดยเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 1992 จากดาวเทียมที่ชื่อ Topex/Poseidon (เริ่มปฏิบัติการปี 1992-2006) Jason-1 (เริ่มปฏิบัติการปี 2001) Jason-2 (เริ่มปฏิบัติการปี 2008) และ Jason-3 (เริ่มปฏิบัติการปี 2016) ดาวเทียมแต่ละตัวจะสำรวจระดับน้ำทะเลและเก็บข้อมูลทุกๆ 10 วัน เป็นเวลา 25 ปี

ข้อค้นพบจากข้อมูลสำรวจฝั่งแอนตาร์กติกาเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับฝั่งอาร์กติกที่ว่า ทะเลน้ำแข็งอาร์กติกเองก็มีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จากรายงานประจำปี 2017 เรื่องสถานการณ์ทะเลอาร์กติก (Arctic Research Program) โดยหน่วยงาน NOAA เผยแพร่เมื่อเดือน ม.ค. ปี 2018 ที่ผ่านมา นับเป็นอีกสัญญาณเตือนว่าโลกได้เดินทางมาสู่ความเปลี่ยนแปลงขั้นสุด (อ่านต่อ: https://greennews.agency/?p=16164)นายจอห์น ฟาซูลโล (John Fasullo) นักวิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ศูนย์วิจัยบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NCAR) และหนึ่งในทีมวิจัยดังกล่าวให้ข้อคิดเห็นว่า

“ข้อสรุปจากงานวิจัยชิ้นนี้ย้ำให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของการนำผลบันทึกจากดาวเทียมมาใช้ในการคาดการณ์แบบจำลองสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น ถ้าการคาดคะเนถูกต้อง เท่ากับว่าระดับน้ำทะเลจะสูงถึงเกือบ 1 ฟุต ภายในปี 2100 ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกเมืองชายฝั่งทั่วโลกแน่นอน และเลวร้ายกว่านั้น หากระดับน้ำทะเลสูงถึง 2 ฟุต บางส่วนของเมืองชายฝั่งใหญ่ๆ เช่น ลอนดอน อัมสเตอร์ดัม นิวยอร์ก ไมอามี กวางโจว หรือโตเกียว มีความเป็นไปได้ที่จะจมอยู่ใต้บาดาล”

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาช่วยเหลือ แต่การเก็บข้อมูลและการตีความในการวัดระดับน้ำทะเลทั่วโลกนั้นยากที่จะคาดการณ์ เนื่องจากในระยะหลังมีปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ส่งผลให้เกิดสภาวะอากาศแปรปรวนอันมีผลต่อการเพิ่มหรือลดลงของระดับน้ำทะเล เช่น ปรากฏการณ์เอลนีโญ และลานีญาโปรเจ็คต์ต่อไป ของนาซาจึงต้องการตอบคำถามว่า การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของน้ำทะเลเกิดขึ้นเนื่องจากอะไร แอนตาร์ติกาและกรีนแลนด์จะเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเผชิญกับภาวะโลกร้อน 

โดยนาซาได้ร่วมมือกับหน่วย
งานอื่นๆ ทำโปรเจ็คต์ที่ชื่อ “Operation IceBridge and Oceans Melting Greenland” เพื่อรวบรวมข้อมูลการวัดแผ่นน้ำแข็งและธารน้ำแข็ง และสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์สำหรับจับตามองปรากฏการณ์นี้โดยเฉพาะ
ทั้งนี้ ในปี 2018 นาซาเตรียมปล่อยดาวเทียมอีก 2 ดวง เพื่อปรับปรุงการคาดการณ์ระดับน้ำทะเลในอนาคต 

ได้แก่ หนึ่ง-ภารกิจ Gravity Recovery and Climate Experiment Follow-On 
(GRACE-FO) ร่วมมือกับองค์กรที่ชื่อ GeoForschungsZentrum (GFZ) ประเทศเยอรมนี สำรวจและวัดมวลแผ่นน้ำแข็งในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา และสอง-ภารกิจ Elevation Satellite-2 (ICESat-2) ทำหน้าที่สังเกตการณ์ความสูงของแผ่นน้ำแข็งและธารน้ำแข็ง

รายการบล็อกของฉัน