![]() |
ฝนกรด ศัตรูตัวร้ายของโบราณสถาน
ฝนกรด คือ ฝนที่มีความเป็นกรดสูง โดยมีค่า pH ต่ำกว่า 5.6 เกิดขึ้นเพราะในอากาศมีก๊าสซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ปริมาณมาก ซึ่งมักเกิดจากการกระทำของมนุษย์เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม ไอเสียจากรถยนต์ เมื่อละอองน้ำในอากาศทำปฏิกิริยากับก๊าสเหล่านี้ จึงเกิดเป็นกรดซัลฟิวริกและกรดไนตริก
![]() |
มีโบราณสถานหลายแห่งถูกฝนกรดกัดกร่อน ตัวอย่างเช่น วิหารพาเทนอน ในประเทศกรีซ ทัชมาฮาล ในประเทศอินเดีย พีระมิด ในประเทศอียิปต์ เพราะโบราณสถานเหล่านี้สร้างด้วยหินอ่อนหรือปูน ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนตเมื่อฝนกรดตกลงมา ก็ละลายแคลเซียมคาร์บอเนตในหิน จึงทำให้สึกกร่อนเร็วกว่าที่ควร
ด้วยเหตุนี้ จึงมีการป้องกันไม่ให้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่มีคุณค่าทางวิทยาศาสตร์สัมผัศกับฝนกรด เช่นสร้างสิ่งกำบัง หรือเคลื่อนย้ายไปไว้ในที่ปลอดภัย แต่วิธีที่ดีที่สุดคือลดและเลิกการกระทำที่ก่อใหเกิดก๊าสที่เป็นต้นเหตุของฝนกรด