ในช่วงทศวรรษที่ 1990 และ 2000 นักวิทยาศาสตร์สามารถประมาณการได้ค่อนข้างดีขึ้น เกี่ยวกับการตรวจวัดน้ำแข็งที่หลอมละลาย และแม่นยำมากยิ่งขึ้นในปัจจุบันด้วยเครื่องไม้เครื่องมือทันสมัยอย่างดาวเทียม สถานีด้านสภาพอากาศ และแบบจำลองสภาพภูมิอากาศที่ซับซ้อน
เมื่อเร็วๆ นี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในสหรัฐอเมริกา เผยว่า ได้คำนวณปริมาณน้ำแข็งที่หายไปในกรีนแลนด์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 เป็นปีที่ดาวเทียมแลนด์แซทดวงแรก ซึ่งเป็นชุดดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติขึ้นสู่วงโคจรเหนือโลกเพื่อถ่ายภาพอาณาเขตของเดนมาร์ก ทีมวิจัยได้ใช้ 3 วิธีวัดการละลายของน้ำแข็ง อย่างแรกคือใช้ดาวเทียมวัดความสูงด้วยเลเซอร์
หากธารน้ำแข็งละลายดาวเทียมก็จะได้รับข้อมูลความสูงที่ลดลง และวัดความแปรปรวนของแรงโน้มถ่วง รวมถึงพัฒนาแบบจำลองความสมดุลของมวล พร้อมเปรียบเทียบมวลสะสมของฝนและหิมะกับมวลที่หายไปของน้ำแข็ง เพื่อคำนวณน้ำแข็งที่เหลืออยู่
หากธารน้ำแข็งละลายดาวเทียมก็จะได้รับข้อมูลความสูงที่ลดลง และวัดความแปรปรวนของแรงโน้มถ่วง รวมถึงพัฒนาแบบจำลองความสมดุลของมวล พร้อมเปรียบเทียบมวลสะสมของฝนและหิมะกับมวลที่หายไปของน้ำแข็ง เพื่อคำนวณน้ำแข็งที่เหลืออยู่
แบบจำลองเหล่านี้ได้รับการยืนยันด้วยการวัดภาคสนามที่มีความน่าเชื่อถือ อาจมีคลาดเคลื่อนบ้างแต่ก็เพียง 5-7 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับช่วง 20-30 ปีก่อน ผลจากการวิจัยพบว่าน้ำแข็งดินแดนกรีนแลนด์นั้นละลายเร็วขึ้น 6 เท่า
ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา และเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้มีส่วนทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 13.7 มิลลิเมตรตั้งแต่ พ.ศ.2515.